Page 110 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 110
ภาคผนวก 109
สมาธิบ�าบัดแบบ SKT
สมาธิบ�าบัด (SKT) เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งของการท�าสมาธิบ�าบัด ซึ่ง รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้พัฒนาเทคนิคนี้ขึ้นมา อธิบายถึงความเชื่อมโยงของ การปฏิบัติ
สมาธิกับการท�างานของระบบประสาท พบว่าการท�าสมาธิแบบสมถะ หายใจเข้า “พุทธ” หายใจออก “โธ” นั้นสามารถ
ช่วยให้คลายเครียดได้อย่างดี แต่หากเราสามารถควบคุมการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส
และการเคลื่อนไหวด้วย ก็จะท�าให้การท�าสมาธินั้นมีผลดีต่อการท�างานของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาท
ส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์และพฤติกรรม ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือด
และระบบอื่นๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงได้น�าองค์ความรู้ ทั้งเรื่องสมาธิ โยคะ ชี่กง การออกก�าลังกาย
แบบยืดเหยียด การปฏิบัติสมาธิด้วยเทคนิคการหายใจ และการควบคุมประสาทสัมผัสทางตาและหู ผสมผสานกัน
จนพัฒนาเป็นรูปแบบสมาธิบ�าบัดแบบใหม่ขึ้น 7 เทคนิค หรือเรียกว่า SKT 1-7 ที่ช่วยเยียวยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังและ
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่ได้จากการท�าสมาธิบ�าบัด
1. มีพัฒนาการทางสมองและความคิดที่ดีขึ้น การท�าสมาธิบ�าบัดในขณะที่เราท�าอยู่ทั้งจิตใจและสมองก็จะ
ปลอดโปร่ง ซึ่งผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการนอนหลับปกติ เพราะสมองจะมีการจัดเรียงระบบทางความคิด
ที่ดีขึ้นจากการก�าหนดลมหายใจและสูดลมเข้า - ออกอย่างเป็นจังหวะ การสูดลมหายใจเข้าลึกๆ จะท�าให้มีจ�านวน
ออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ (การนอนหลับปกติการหายใจจะสั้นกว่าประกอบกับช่วงกลางคืน
จ�านวนออกซิเจนจะน้อยกว่ากลางวัน) แน่นอนว่าหลังจากนั่งสมาธิเสร็จเมื่อสมองเริ่มกลับมาท�างานใหม่อีกครั้งก็จะ
สามารถคิดวิเคราะห์และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
2. การควบคุมอารมณ์ดีขึ้น ในด้านจิตใจและการแสดงอารมณ์ของคนที่ท�าสมาธิเป็นประจ�าจะมีรูปแบบ
ที่แสดงออกมาแตกต่างจากคนปกติ โดยการแสดงออกด้านอารมณ์และจิตใจแต่ละครั้งจะมีการคิดและวิเคราะห์
เกิดขึ้นก่อนเสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากการก�าหนดลมหายใจเข้าออก ท�าให้เกิดรูปแบบของการแสดงออกและระบบ
ความคิดที่เป็นระบบระเบียบมากกว่าเดิม
3. มีพื้นฐานด้านสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น อีกหนึ่งประโยชน์ที่ได้จากการท�าสมาธิบ�าบัดและถือว่าเป็นจุดประสงค์
หลักก็คือ สุขภาพร่างกายจะแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผลที่ได้รับจากการท�าสมาธิบ�าบัดนั้นท�าให้ร่างกายทุกส่วนได้รับ
การผ่อนคลาย ทั้งจากภายนอกและภายใน ประกอบกับจ�านวนออกซิเจนที่สูดเข้าร่างกายมากขึ้นเพียงพอต่อการ
หล่อเลี้ยงระบบต่างๆ ของร่างกาย (การนั่งสมาธิร่างกายจะใช้พลังงานน้อยมากท�าให้ออกซิเจนที่สูดเข้าไปเพียงพอ
ต่อการน�าไปใช้งานกับทุกส่วนของร่างกาย) สมองพักผ่อนเพียงพอ ระบบประสาททั่วร่างกายได้ผ่อนคลาย สิ่งเหล่านี้
เป็นพื้นฐานที่ส่งผลให้เห็นได้อย่างชัดเจนหลังท�าสมาธิ โดยมีผลงานวิจัยพบว่า การท�าสมาธิสามารถลด
ความเจ็บปวด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในผู้ป่วยเอดส์ ลดภาวะป่วยซ�้าซากและการก�าเริบของโรคลดลง และ
ลดภาวการณ์อักเสบในร่างกายที่ทดแทนการใช้ยาได้
4. ผ่อนคลายความเครียด ความเครียดจะส่งผลท�าให้ระบบฮอร์โมนของเราท�างานผิดปกติ ท�าให้ต่อมหมวกไต
หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากกว่าปกติ ส่งผลท�าให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดศีรษะและอื่น ๆ ตามมา
อีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีผลต่อสภาพจิตใจอีกหลายอย่างด้วย การท�าสมาธิบ�าบัดจะช่วยผ่อนคลายความเครียด
ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการน�าสมาธิบ�าบัดช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงเพื่อรักษาสภาพจิตใจ
ให้ดีขึ้นและส่งผลต่อการรักษาทางด้านกายภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีความเครียดและสภาพ
จิตใจที่ย�่าแย่ มีงานวิจัยรองรับเกี่ยวกับการลดความเครียดส�าหรับคนที่ฝึกท�าสมาธิติดต่อกัน 25 นาทีทุกวัน โดยอ้างอิง
ข้อมูลจากวารสารจิตประสาทต่อมไร้ท่อนานาชาติ ที่ได้ยืนยันเรื่องนี้เอาไว้