Page 115 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 115
114 คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care)
สวดมนต์บ�าบัด
สวดมนต์บ�าบัด เป็นเทคนิคการปฏิบัติแบบหนึ่งในการน�าไปสู่กระบวนการของสมาธิบ�าบัด การสวดมนต์
เป็นการท่องมนตรา (Montra) ที่มีการปฏิบัติสมาธิของทุกศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เป็นต้น
การสวดมนต์บ�าบัด นับว่าเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับและน�ามาใช้อย่างแพร่หลาย เป็นวัฒนธรรมของสังคมทุก
ชาติ ศาสนาในการเยียวยาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การสวดมนต์บ�าบัดจึงมีคุณค่าที่ควรจะได้มีการส่งเสริมในการ
ปฏิบัติเป็นประจ�า เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย จิต วิญญาณ และสังคมโลกอย่างแท้จริง
ประโยชน์ด้านสุขภาพของการสวดมนต์
กลไกการบ�าบัดเริ่มต้นเมื่อหูของเราได้ยินเสียง บทสวด ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังศูนย์การได้ยินที่อยู่บริเวณ
สมองกลีบขมับ ก่อนส่งไปบริเวณก้านสมอง ซึ่งเมื่อได้รับคลื่นเสียงช้าๆ สม�่าเสมอ จะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์
มากมาย โดยรศ. ดร. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายไว้
ดังนี้ “สมองเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ สม�่าเสมอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป จะท�าให้เซลล์ประสาทของ
ระบบประสาทสมอง สังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายๆ ชนิด บริเวณก้านสมองจะหลั่งสารสื่อประสาท ชื่อ ซีโรโทนิน
(Serotonin) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน�้าตาล
ในเลือด และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเปรียบคล้ายกับ
ยาอายุวัฒนะ เพราะจะช่วยยืดอายุการท�างานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกาย ให้ชีวิตยืนยาวขึ้น และยังมีคุณสมบัติ
ช่วยให้นอนหลับ เพิ่มภูมิต้านทาน ท�าให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง โดปามีน (Dopamine) มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและ
อาการพาร์กินสัน นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น
อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจ�า ช่วยขยายเส้นเลือด ท�าให้ความดันลดลง และ
ยังช่วยลดปริมาณ อาร์กินิน (Arginine) วาโซเปรสซิน (Vasopressin) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความก้าวร้าว ความสมดุล
ของน�้า และซีโรโทนินยังเข้าไปลดปริมาณของสารเคมีที่เป็นตัวกระตุ้นของการท�างานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผล
ให้ระบบประสาทส่วนกลางท�างานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การสวดมนต์ยังท�าให้อวัยวะต่างๆ ได้รับการกระตุ้น คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์”
อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า “เวลาเราสวดมนต์นานๆ ค�าแต่ละค�าจะสร้าง
ความสั่นสะเทือนไม่เท่ากัน ตามฐานที่เกิดของเสียงหรือตามวิธีเปล่งเสียง แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปากเหมือนกัน แต่
ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก บางเสียงออกมาจากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน บางเสียงออกมาจาก
คอ ดังนั้น การสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์ จึงเกิดพลังของการสั่นและเมื่อเกิดพลังของการสั่น เสียงสวดมนต์จะ
ไปช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด เช่น การวิจัยของฝรั่ง พบว่า อักษร เอ (A) บี (B) ซี (C)
ดี (D) จะช่วยกระตุ้นระบบน�้าย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีค�าหนักเบาไม่เท่ากัน
บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ท�าให้ต่อมต่างๆ ในร่างกายถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆ
เข้า ก็จะคงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น” และที่ส�าคัญมากไปกว่านั้น การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทางใจที่มีคุณค่ากับ
ผู้สวด ซึ่งรศ. จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปว่า
มี 2 ข้อ คือ
1. การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่อ
อยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ
2. ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะท�าให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุกศาสนา
เป็นเรื่องของความดีงาม จิตใจก็จะสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวดเมื่อร่างกายที่รับสารสื่อ
ประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะต่างๆ ให้ท�างานเป็นปกติ เท่ากับว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งอวัยวะและ
โรคที่เป็นอยู่