Page 116 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 116

ภาคผนวก     115



            ข้อแนะน�าในการสวดมนต์บ�าบัด
                    การจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีและสารสื่อประสาทที่เป็นประโยชน์ต่อการเยียวยาดังกล่าวนั้น จะต้อง
            สวดมนต์อย่างถูกวิธี ดังนี้
                    1. เลือกช่วงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลาย ไม่ควรสวดหลังกินอาหารอิ่มใหม่ๆ อาจสวดช่วงหลังตื่นนอนตอนเช้า

            หรือก่อนเข้านอนตอนค�่า
                    2. เลือกสถานที่สงบเงียบ ไม่มีเสียงดังรบกวน เนื่องจากประสาทสัมผัสของคนเรานั้นรับรู้ได้ไวและอ่อนไหว
            มาก หากมีเสียงดังอื่นๆ รบกวน จะท�าให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทก็จะสับสน
            ตามไปด้วย และร่างกายจะสร้างสารซีโรโทนินได้ไม่มากพอ ท�าให้ไม่มีผลในการเยียวยา
                    3. เลือกบทสวดมนต์สั้นๆ  ที่เราชอบหรือศรัทธาจากศาสนาใดก็ได้  อาจเลือกค�าบางค�าจากบทสวดสัก
            2-3 พยางค์ สวดซ�้าไปมาในจังหวะเนิบช้า เบาๆ ให้ได้ยินคนเดียวแบบเสียงแผ่วๆ เป็นลมอยู่ในล�าคอ ไม่ต้องสวด
            บทยาวๆ แบบที่เคยสวดปกติตามศรัทธาของศาสนา การเปล่งเสียงพอให้ตัวเราได้ยินจะท�าให้เกิดแรงสั่นสะเทือน
            วิ่งเข้าหูส่วนกลาง จะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่หน้ามืดไม่เวียนศีรษะ ไม่ล้มง่าย และสมองเสื่อมช้าลงด้วย นอกจากนี้
            การสวดมนต์เบาๆ ยังกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น เลือดเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น

            ปอดจะขยายตัวขับเสมหะออก และหัวใจดีขึ้นด้วย
                    4. สวดนาน 12-15 นาทีต่อรอบ หากต้องการได้สารต้านอนุมูลอิสระด้วย ให้หลับตาขณะสวด
                    5. ไม่คิดฟุ้งซ่านถึงเรื่องอื่นขณะสวด เพื่อตัดสิ่งเร้าที่จะรบกวนคลื่นสมองให้สับสน
                    6. ส�าหรับผู้ที่แข็งแรงดีและต้องการสร้างเสริมสุขภาพทั่วไปให้สวดวันละ 1 รอบ หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องการ
            ผลในการเยียวยาที่เข้มข้นกว่าปกติให้สวดวันละ 2 รอบ เช้า-เย็น



            การสวดมนต์บ�าบัด มีวิธีการสวด 3 แบบ ดังนี้
                    1. การสวดมนต์ด้วยตัวเอง เป็นการเหนี่ยวน�าตัวเอง จึงเป็นที่มาของค�าว่า Prayer Therapy เป็นวิธีการที่ดี
            ที่สุด เพราะการคิดที่จะสวดมนต์ หมายถึงเราก�าลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง วิธีการคือ เตรียมกาย โดยสวมใส่
            เสื้อผ้าที่สบาย หาสถานที่สงบเงียบ ควรเป็นเวลาที่เสร็จสิ้นจากภารกิจประจ�าวัน ไม่ควรสวดมนต์หลังรับประทาน
            อาหารทันที ควรสวดมนต์หลังรับประทานอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จะสวดตอนเช้า
            หรือก่อนเข้านอนก็ได้ หรือจะสวดเวลาใดก็ได้ที่ร่างกายมีความพร้อมและผ่อนคลาย การสวดมนต์ถ้าสวดบทสั้นๆ
            โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ขึ้นไป จะท�าให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกาย
            ผ่อนคลาย แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา ขณะสวดมนต์ควรหลับตา สวดให้
            เกิดเสียงดังเพื่อให้ตัวเองได้ยิน

                    2. การฟังผู้อื่นสวดมนต์  เป็นการเหนี่ยวน�าโดยคลื่นเสียงจากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์ เสียงผู้น�า
            สวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ท�าให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา (Healing) ผู้ฟัง แต่หาก
            ผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆ ลงๆ นอกจากจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย
            แล้ว ยังอาจท�าให้เสียสุขภาพได้
                    3. การสวดมนต์ให้ผู้อื่น ปรากฏการณ์มากมายที่เราเห็นในสังคม เมื่อใครสักคนเจ็บป่วย เรามักสวดมนต์หรือ
            อธิษฐานขอให้ความเจ็บป่วยของเขาหายไป บางครั้งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เสียงสวดมนต์เหล่านี้จะมีผลท�าให้สุขภาพ
            เขาดีขึ้น เพราะคลื่นสวดมนต์เป็นคลื่นบวก เกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณ

            นี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้า คลื่นนี้จึงเดินทางไปได้ไกลๆ บางทีพ่อก�าลังป่วยหนัก แต่ลูก
            อยู่ต่างประเทศ ก็สามารถรับคลื่นนี้ได้ และรู้ว่ามีใครก�าลังไม่สบาย ที่เราเรียกว่า ลางสังหรณ์ หรือสัมผัสที่หก หรือ
            โทรจิต การที่จะรับรู้ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้รับและผู้ส่งด้วย ถ้าคนไหนรับสัญญาณคลื่นแห่งบทสวดมนต์ได้ก็จะได้ผล
            เหมือนเราเปิดวิทยุ ถ้าคนฟังปิดหูก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นถ้าต่างฝ่ายต่างเปิดรับคลื่นบวกที่เราส่งไป ผู้ป่วยก็จะได้รับ และ
            ท�าให้อาการป่วยดีขึ้นได้ จึงไม่ใช่เรื่องของความมหัศจรรย์ แต่เป็นหลักธรรมชาติทั่วไป
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121