Page 24 - วารสารปีที่17ฉบับที่1
P. 24

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 17  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2562       Vol. 17  No. 1  January-April 2019




                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           คุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติการเป็นสารพรีไบโอติกของมะนาวไม่รู้โห่



           นพดล หงษ์สุวรรณ , ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล †
                           *,‡
           * สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47160
           † ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
           ‡ ผู้ผิดชอบบทความ: noptmc0550@gmail.com








                                                บทคัดย่อ

                   การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ และคุณสมบัติการเป็นสารพรีไบโอติกของตัวอย่างผลอ่อนและผลแก่มะนาว
              ไม่รู้โห่ (Carissa carandas L.) ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเปลือกและเนื้อกับส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ด มีตัวอย่างทั้งหมด
              4 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนเปลือกและเนื้อระยะผลอ่อน (ผลสีขาวปนสีแดง): PP (W/R), (2) ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ดระยะ
              ผลอ่อน (ผลสีขาวปนสีแดง): PS (W/R), (3) ส่วนเปลือกและเนื้อระยะผลแก่ (ผลสีแดงเข้ม): PP (Dm) และ (4) ส่วนเยื่อ
              หุ้มเมล็ดและเมล็ดระยะผลแก่ (ผลสีแดงเข้ม): PS (Dm) การทดลองใช้วิธี proximate analysis เพื่อศึกษาคุณค่าทาง
              โภชนาการของผลสดมะนาวไม่รู้โห่ทั้ง 2 ระยะ และใช้เชื้อ Lactobacillus acidophilus TISTR 1338 เป็นตัวแทนเชื้อแบคทีเรีย
              ในการทดสอบคุณสมบัติการเป็นสารพรีไบโอติกของผลสดมะนาวไม่รู้โห่ ผลการศึกษา ด้านคุณค่าทางโภชนาการ พบ
              ปริมาณโปรตีนและเส้นใยใน PS (W/R) มากที่สุด ร้อยละ 28.48 ± 0.32 และ 14.14 ± 0.46 ตามลำาดับ ปริมาณไขมัน
              และคาร์โบไฮเดรตพบใน PP (Dm) มากที่สุด ร้อยละ 12.30 ± 0.29 และ 51.14 ± 0.78 ตามลำาดับ การศึกษาคุณสมบัติ
              การเป็นสารพรีไบโอติกพบว่าในสูตรอาหารที่มีส่วนผสมของ PP (W/R) และส่วนของ PP (Dm) ที่ความเข้มข้นร้อยละ
              4.5 มีค่าความขุ่นของเชื้อ L. acidophilus TISTR 1338 สูงที่สุดที่เวลา 48 ชั่วโมง คือ 0.071 และ 0.094 ตามลำาดับ ซึ่งแสดง
              ให้เห็นถึงอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามะนาวไม่รู้โห่ทั้ง 2 ระยะ มีศักยภาพ
              ที่สามารถเป็นแหล่งอาหารทางเลือกเพิ่มเติม และสามารถนำาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ จากธรรมชาติที่ใช้ดูแลสุขภาพ
              อีกทางเลือกหนึ่ง

                   คำ�สำ�คัญ :  มะนาวไม่รู้โห่, Carissa carandas L., คุณค่าทางโภชนาการ, พรีไบโอติก
















           Received date 16/02/18, Revised date 17/12/18; Accepted date 07/02/19

                                                    14
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29