Page 34 - journal-14-proceeding
P. 34

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                    OP60R2R0073 ผลการใชชาสมุนไพรบํารุงน้ํานมกับการนวดประคบสมุนไพรบริเวณ
                                    เตานมเพิ่มการไหลของน้ํานมในมารดาหลังคลอดที่น้ํานมไมไหล



               สุธัญญา มิตรมาตย, สุกิจ สมรักษ, ฐิติกาญจน ฉ่ําชะนะ
               โรงพยาบาลทาศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

               หลักการและเหตุผล  นมแมเปนอาหารที่ดีที่สุดสําหรับทารกแรกเกิดถึงขวบปแรก เนื่องจากมีภูมิคุมกันและ
               สารอาหารครบถวน  กลุมงานการแพทยแผนไทยฯ โรงพยาบาลทาศาลา เห็นความสําคัญของนมแมที่มี
               ประโยชนตอทารกแรกเกิด จึงพัฒนางานเพื่อใหมารดาหลังคลอด มีน้ํานมไหลเร็วและดีทุกคน ในระยะแรกได
               ใหบริการนวดประคบสมุนไพรบริเวณเตานม จนเปนผลใหลดการใชยา Motilium  ในมารดาหลังคลอดที่มี
               ปญหาน้ํานมไมไหลได แตในปจจุบันพบวา จํานวนมารดาหลังคลอดที่น้ํานมไมไหลมีจํานวนมากขึ้น ประกอบ

               กับระยะเวลาใหบริการนวดประคบสมุนไพรบริเวณเตานมมารดาหลังคลอดในแตละรายตองใชเวลานาน จึง
               ประสบปญหาวา มารดาหลังคลอดที่น้ํานมไมไหล ไดรับการนวดประคบสมุนไพรบริเวณเตานมชา เนื่องจาก
               บุคลากรในสังกัดงานแพทยแผนไทยมีจํานวนไมเพียงพอกับจํานวนมารดาหลังคลอดที่น้ํานมไมไหล  ดังนั้น

               ผูวิจัย จึงศึกษาการใชชาสมุนไพรบํารุงน้ํานมเพิ่มการไหลของน้ํานมในมารดาหลังคลอด เพื่อเปนทางเลือกอีก
               ทางหนึ่งในการดูแลเรื่องการไหลของน้ํานมมารดาหลังคลอด เพื่อใหมารดาหลังคลอดไดรับการรักษาดวย
               ศาสตรการแพทยแผนไทยแบบหลากหลาย เปนผลใหลดการใชยา Motilium  ในมารดาหลังคลอดที่มีปญหา
               น้ํานมไมไหลไดทุกรายในอนาคต


               วัตถุประสงค  เพื่อเปรียบเทียบผลการใชชาสมุนไพรบํารุงน้ํานมกับการนวดประคบสมุนไพรในมารดาหลัง
               คลอดที่น้ํานมไมไหล

               วิธีดําเนินการ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental    Research) กลุมตัวอยางคัดเลือกแบบเจาะจง

               (Purposive sampling) เปนมารดาหลังคลอดที่มีปญหาน้ํานมไมไหล จํานวน 100 คน แบงเปน 2 กลุม ไดแก
               มารดาหลังคลอดที่ไดรับชาสมุนไพรบํารุงน้ํานมจํานวน 50  คน และมารดาหลังคลอดที่ไดรับการนวดประคบ
               สมุนไพร จํานวน 50 คน เครื่องมือที่ใชคือชาสมุนไพรบํารุงน้ํานม การนวดประคบดวยสมุนไพรของผูวิจัย และ
               แบบบันทึกการไหลของน้ํานม วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติพรรณนา ไดแก รอยละ คาเฉลี่ย คาเบี่ยงเบน

               มาตรฐาน และ t-test

               ผลการศึกษา  ผลการวิเคราะหโดยใชสถิติการทดสอบคา Independent t-test พบวามารดาที่ไดรับชา
               สมุนไพรบํารุงน้ํานม จะมีคาเฉลี่ยการไหลของน้ํานมเร็วกวามาดาหลังคลอดที่ไดรับการนวดประคบสมุนไพร

               อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = 2.74, p = .007)โดยมารดาหลังคลอดที่ไดรับชาสมุนไพรบํารุงน้ํานม มีคาเฉลี่ย
               เทากับ 2.22 (x̄ = 2.22) และมารดาหลังคลอดที่ไดรับการนวดประคบสมุนไพร มีคาเฉลี่ยเทากับ 1.78 (x̄ =
               1.78)


               ขอสรุป การศึกษานี้สามารถนําไปใชเปนขอมูลวิชาการสําหรับพัฒนาระบบบริการในการดูแลมารดาหลังคลอด
               และเปนอีกทางเลือกหนึ่งในการใหบริการหญิงหลังคลอดที่น้ํานมไมไหล เพื่อใหแมหลังคลอดไดเลี้ยงลูกดวยนม
               แมอยางเต็มที่ เพราะนมแมเปนอาหารที่ดีที่สุดสําหรับทารกแรกเกิด




                                                         32
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39