Page 55 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 55

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 19  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2564       Vol. 19  No. 2  May-August  2021




                                                                                 บทความพิเศษ



            การพัฒนายาเก่าเพื่อใช้รักษาโควิด-19



            จันทรา กาบวัง , เกศรา ณ บางช้าง †
                        *,‡
            * ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนายา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
            † วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
             ผู้รับผิดชอบบทความ:  jkarbwang@gmail.com
            ‡






                                                 บทคัดย่อ

                    การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่มีจำานวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตกทั่วโลก อัตราการ
               เสียชีวิตประมาณ 1.4% ผู้ที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 14.8% ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโควิด-19
               ไปทั่วโลกเช่นนี้ จำาเป็นต้องมีการค้นหายาใหม่เพื่อใช้ในการต่อสู้กับการระบาดของโรคใหม่ ทว่าการต้องเริ่มพัฒนายา
               ใหม่จะต้องใช้เวลานานหลายปี การนำายาที่ได้รับการอนุมัติสำาหรับโรคอื่นมาพัฒนาต่อ (repurposed drug) จึงกลายเป็น
               กลยุทธ์ในการตอบสนองต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ได้อย่างทันท่วงที มียาหลายชนิดได้รับการคัดเลือกให้พัฒนาต่อเพื่อ
               เป็นยาสำาหรับรักษาโควิด-19 เช่น ยามาลาเรีย (คลอโรควิน และไฮดร็อกซีคลอโรควิน) ยาถ่ายพยาธิ (ไอเวอร์เม็กติน)
               ยาแก้ไข้หวัดใหญ่ (ฟาวิพิราเวียร์) และ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร เป็นต้น สำาหรับยามาลาเรียมีหลักฐานพอเพียงที่องค์การ
                                                                                      ่
               อนามัยโลกแนะให้เลิกใช้ ส่วนยาตัวอื่นหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังมีความน่าเชื่อถือในระดับตำาทำาให้ไม่
               สามารถสรุปผลของประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเหล่านี้ได้สำาหรับการนำามาใช้รักษาโรคโควิด-19 เนื่องจาก
               การศึกษาส่วนใหญ่มีการวัดผลการทดลองที่ไม่แม่นยำา มีช่วงความเชื่อมั่นที่กว้าง และมีขนาดของตัวอย่างน้อย รวม
               ทั้งมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของอคติจากรูปแบบการศึกษา คุณภาพของงานวิจัยเพื่อการพัฒนายาที่นำากลับ
               มาใช้ใหม่ควรมีคุณภาพเทียบเท่ากับการพัฒนายาใหม่ ข้อมูลควรแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและความปลอดภัย
               ของยาอย่างสิ้นสงสัย ความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และจริยธรรมของการวิจัยทางคลินิกจึงเป็นสิ่งจำาเป็น การศึกษา
               ในอนาคตควรเน้นที่คุณภาพและการออกรูปแบบการศึกษา แบบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมแบบปกปิด
               (double-blinded, randomized - controlled trial: RCT) และเลือกตัววัดผลให้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรง
               ที่ต่างกันไป และอาจต้องมีการศึกษาหาขนาดยาเพื่อกำาหนดขนาดยาที่เหมาะสมสำาหรับโรคโควิด-19 บทความนี้นำา
               เสนอการศึกษาที่สำาคัญทางคลินิกของยาต้านไวรัสที่พัฒนามาจากยาอื่นที่มีการนำามาใช้ในประเทศไทย ทั้งที่ยอมรับ
               อย่างเป็นทางการ หรือที่มีการใช้โดยความเชื่อของคนทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้ หรือเลิกใช้
               หรือเลือกพัฒนายาเหล่านี้ต่อไป
                    คำ�สำ�คัญ:  โควิด-19, เรมดีซิเวียร์, ไอเวอร์เม็กติน, ฟาวิพิราเวียร์, แอนโดรกราโฟไลด์











                                                    285
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60