Page 54 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 54

284 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      ปีที่ 19  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2564




                                          คำาชี้แจงของบรรณาธิการ

                ขอขอบคุณศาสตราจารย์นายแพทย์วิษณุ ธรรมลิขิตกุล ที่ได้มีจดหมายถึงบรรณาธิการเกี่ยวกับบทความเรื่อง
           รายงานสังเขปผลการใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แผนไทยและ

           การแพทย์ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564 หน้า 229-233
                โดยที่วารสารฉบับนี้เป็นวารสารราย 4 เดือน เพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ตีพิมพ์ในฉบับเดียวกัน จึงได้ขออนุญาต
           ศาสตราจารย์นายแพทย์วิษณุ ส่งจดหมายให้ผู้รับผิดชอบบทความดังกล่าวได้ชี้แจง ซึ่งผู้รับผิดชอบบทความได้ชี้แจง
           มาแล้ว บรรณาธิการจึงได้ส่งหนังสือชี้แจงให้ศาสตราจารย์นายแพทย์วิษณุ ได้รับทราบ ซึ่งศาสตราจารย์นายแพทย์
           วิษณุ ได้ส่งจดหมายฉบับที่ 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งผู้รับผิดชอบบทความก็ได้ชี้แจงเป็นครั้งที่ 2 ดังปรากฏ
           เนื้อหาสาระที่นำามาตีพิมพ์ทั้งหมดแล้ว
                คำาชี้แจงของผู้รับผิดชอบบทความได้ตอบคำาถามของศาสตราจารย์นายแพทย์วิษณุ ไปบางส่วนแล้ว น่าเสียดาย

           ที่ผู้รับผิดชอบบทความยังไม่สามารถตอบคำาถามได้จนเป็นที่กระจ่างทั้งหมด ทั้งนี้ส่วนสำาคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
           เรื่องหนึ่งคือ เรื่องการคำานวณทางสถิติ ซึ่งผู้รับผิดชอบบทความยังไม่ได้ตอบคำาถามของศาสตราจารย์นายแพทย์
           วิษณุ ซึ่งข้อเท็จจริงเรื่องนี้ปรากฏตามเอกสารชี้แจงของหัวหน้าภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติของคณะ
           แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อความกระจ่างของเรื่องนี้จึงได้นำาเอกสารชี้แจงฉบับนี้
           ซึ่งมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว มาตีพิมพ์ไว้ด้วย
                ต่อมาศาสตราจารย์นายแพทย์วิษณุ ได้ส่งจดหมายถึงบรรณาธิการฉบับที่ 3  ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง
           ที่ตามมา รายละเอียดปรากฏชัดเจนในจดหมายที่ได้นำามาตีพิมพ์แล้ว และไม่น่าที่บรรณาธิการจะต้องชี้แจงเพิ่มเติม
           ขอให้ผู้เกี่ยวข้องโปรดพิจารณาว่าจะชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อจะได้นำามาตีพิมพ์เผยแพร่ในฉบับต่อไป
                ในส่วนที่เป็นคำาถามถึงบรรณาธิการโดยตรงเรื่องการทบทวนบทความ ขอเรียนชี้แจงว่า นโยบายของวารสาร

           จะทำาการทบทวนอย่างเป็นระบบในลักษณะปกปิดทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือปกปิดทั้งชื่อผู้เขียนและผู้ทบทวน เฉพาะ
           บทความ 2 ประเภท คือ นิพนธ์ต้นฉบับ และ บทปริทัศน์ เท่านั้น ตามคำาชี้แจงในเรื่อง “นโยบายและจรรยาบรรณ
           ของวารสาร’’ ข้อ 1 ย่อหน้าที่ 2  ดังนั้น บทความเรื่อง รายงานสังเขปการใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษา COVID-19
           ซึ่งจัดเป็นประเภท “รายงานสังเขป’’ จึงไม่อยู่ในข่ายเข้าสู่ระบบการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) โดยผู้
           นิพนธ์จะต้องมีความรับผิดชอบ ตามนโยบายและจรรยาบรรณของวารสาร ซึ่งข้อ 4.1 ระบุว่า “ผู้นิพนธ์ต้องมีความ
           ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และมีอิสระทางวิชาการโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการวิจัย’’
                โดยที่เรื่องฟ้าทะลายโจร มีประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมาก เพื่อความกระจ่าง จึงได้นำาไปอธิบายเพิ่มเติมในหน้า

           บรรณาธิการแถลง
                รายละเอียดเพิ่มเติมจึงขอให้อ่านใน “บรรณาธิการแถลง’’
                อนึ่ง มีการศึกษาวิจัยเรื่องฟ้าทะลายโจรในประเทศไทยอีกการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นการศึกษาแบบสุ่ม
           เปรียบเทียบ ปกปิดทั้งสองด้าน เปรียบเทียบการใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
           ส่วนบนแบบเฉียบพลันและไม่จำาเพาะ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างรวม 862 ราย โดย อมร ลีลารัศมีและคณะ ตีพิมพ์ใน
           จดหมายเหตุทางแพทย์ ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (จพสท.) (Vol 104 No.7 July
           2021 หน้า 1,204-1,213) ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในฐาน SCOPUS ซึ่งเป็นฐานข้อมูลใหญ่มากที่เผยแพร่ผลงานไปถึง

           ระดับนานาชาติได้ดี ผลพบว่า ฟ้าทะลายโจรในขนาด 20 มก. วันละ 3 ครั้ง 4 วัน ได้ผลไม่ต่างจากยาหลอก
                                                                                           บ.ก.
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59