Page 89 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 89

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 18  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2563   Vol. 18  No. 3  September-December 2020




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มศีรษะรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

            ด้วยเทคนิคการกระตุ้นเข็มด้วยมือและการกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า:

            การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม



            ภาสกิจ วัณนาวิบูล , ภัทรานี ดนัยสวัสดิ์ , สุภรตา เกียรติวิชญ์ , ณัฐนันท์ นุ่มหอม , นพจิรา วัณนาวิบูล ,
                                                                                              †
                           *,#
                                                                              *
                                             *
                                                              *
            ธรรมธัช เชี่ยวพรหมคุณ , ปารเมษฐ์ แซ่ปึง , ธัญญารัตน์ ไพศาลภานุวงศ์ , อุทัย ศิลาพิพัฒน์ธรรม ,
                                                §
                                ‡
                                                                        ¶
                                                                                            †
                            †
            จักษณา วัณนาวิบูล
            * วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี 12000
            † สามหลวงสหคลินิก จังหวัดนนทบุรี 11000
            ‡ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ 10540
            § ป.รุ่งโรจน์คลินิก จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10260
            ¶ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10900
             ผู้รับผิดชอบบทความ: dr.bhasakit@gmail.com
            #
                                                 บทคัดย่อ

                    อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบบ่อย การเยียวยารักษาส่วนใหญ่มักใช้ยาระงับปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
               ซึ่งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาทั้งในแบบเฉียบพลันและระยะยาว ปัจจุบันในประเทศไทยการฝังเข็มร่างกายเป็นการ
               รักษาทางเลือกหนึ่งที่นิยมแพร่หลาย ส่วนฝังเข็มศีรษะมีการใช้กันน้อยมาก ข้อดีของการฝังเข็มศีรษะคือการสามารถ
               รักษาผู้ป่วยได้ในหลายอิริยาบถ ใช้เข็มน้อย ใช้หรือไม่ต้องใช้เตียงก็ได้ และมีรายงานการวิจัยว่าสามารถรักษาหรือระงับ
               อาการปวดได้ผลดี โดยทั่วไปเทคนิคการกระตุ้นเน้นการกระตุ้นด้วยมือเป็นหลัก ต้องอาศัยความชำานาญ การฝึกฝน
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มศีรษะด้วยการกระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
               กับการกระตุ้นด้วยมือ โดยใช้การทดลองแบบสุ่ม รวม 40 คน ทำาการเก็บบันทึกข้อมูลการรักษา กลุ่มที่กระตุ้นด้วยมือ
               เป็นกลุ่มควบคุมจำานวน 20 คน และกลุ่มที่กระตุ้นด้วยไฟฟ้าเป็นกลุ่มทดลองจำานวน 20 คน ใช้การประเมินผลข้อมูล
               ด้วยแบบสอบถามความปวดแบบแมคกิลล์แบบย่อ (Short-form McGill Pain Questionnaire) และ Neuropathy Pain
               Scale (NPS) และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลผลการรักษาทั้งสองกลุ่มสามารถลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำาคัญ
               ภายหลังการรักษาแต่ละครั้ง และพบว่าค่าเฉลี่ย (Mean) ก่อนการรักษาครั้งแรกและหลังการรักษาครั้งที่สามของกลุ่ม
               ทดลองมีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ 3.55 เมื่อเปรียบเทียบแบบเดียวกันของการรักษากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ
               4.4 สรุปได้ว่าระดับความแตกต่างของผลการรักษารวม 3 ครั้งของการกระตุ้นทั้งสองวิธีได้ผลดีในการระงับปวดอย่าง
               มีนัยสำาคัญ แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มในทางสถิติ
                    คำ�สำ�คัญ:  ฝังเข็มศีรษะแบบกระตุ้นเข็มด้วยมือ, ฝังเข็มศีรษะแบบกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า, อาการปวดหลังส่วนล่าง




            Received date 30/10/20; Revised date 15/10/20; Accepted date 27/10/20


                                                    521
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94