Page 103 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 103

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 18  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2563   Vol. 18  No. 3  September-December 2020




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาชุดที่เหมาะสมสำาหรับผู้รับบริการฝังเข็ม คลินิกแพทย์แผนจีน

            ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

            มหาวิทยาลัยมหิดล


            โชษิตา แก้วเกษ , อนุธิดา โพธิ์สมบูรณ์
                          *
            ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
            888 หมู่ 6 ถนนบรมราชชนนี ตำาบลศาลายา อำาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
            * ผู้รับผิดชอบบทความ: chosita.kae@mahidol.ac.th




                                                 บทคัดย่อ

                    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดที่เหมาะสมสำาหรับผู้รับบริการฝังเข็ม คลินิกแพทย์แผนจีน ศูนย์การ
               แพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่
               1 ขั้นตอนการพัฒนาชุดที่เหมาะสมสำาหรับฝังเข็ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 27 คน โดยการสัมภาษณ์ความเห็นต่อเสื้อ
               แขนสั้นและกางเกงขายาวชุดเดิมและความต้องการชุดใหม่ จำานวน 3 ชุด (ชุดละ 9 คน) ในแต่ละชุดสัมภาษณ์ผู้ป่วย
               (3 คน) แพทย์ (3) และเจ้าหน้าที่ช่วยแพทย์ (3 คน) เพื่อพัฒนาเป็นชุดต้นแบบ 1 (เสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้น), 2
               (เสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้น) และ 3 (เสื้อไม่มีแขนและกางเกงขาสั้น) ตามลำาดับ ระยะที่ 2 ขั้นตอนการประเมิน
               ชุดที่เหมาะสมสำาหรับการฝังเข็มต่อชุดต้นแบบ 3 จากผู้รับบริการจำานวน 119 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง โดย
               ใช้แบบสอบถามที่พัฒนาตามแนวคิดการออกแบบ และแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย แบ่งเป็น 5 ด้าน
               ดังนี้ 1) ด้านประโยชน์ใช้สอย 2) ด้านความสวยงาม 3) ด้านความสะดวกสบาย 4) ด้านความปลอดภัย 5) ด้านความ
               เป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ซึ่งแบบสอบถามเป็นลักษณะมาตราส่วน 5 ตัวเลือก (คะแนน 1-5) และใช้เกณฑ์การแปลผล
               คะแนนแบบ Likert แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ น้อย (1.00-2.33) ปานกลาง (2.34-3.66) และมาก (3.67-5.00) ผลการวิจัย
               พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.9 ช่วงอายุ 41-50 ปี มากที่สุด อาชีพรับราชการมากที่สุดร้อยละ
               29.4 ระดับการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 48.7 ส่วนการประเมินความคิดเห็นต่อชุดต้นแบบ 3 พบว่า ระดับความเหมาะ
               สมของเสื้อในรายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านประโยชน์ใช้สอย มีค่าเฉลี่ย
               ร้อยละ 4.38 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.93 ข้อเสนอแนะจาก
               ผู้รับบริการ ให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ส่วนระดับความเหมาะสมของกางเกงอยู่ในระดับมากทั้งรายด้านและโดย
               รวม โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านประโยชน์ใช้สอยเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
               คือด้านความสวยงาม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ส่วนข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ ให้เพิ่มความยาวของกางเกงเลยเข่าหรือ
               ขา 4 ส่วน จากผลการทดลอง สามารถสรุปได้ว่า ชุดต้นแบบ 3 เป็นชุดที่เหมาะสมสำาหรับผู้รับบริการฝังเข็ม ศูนย์การ
               แพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างไรก็ตาม ควรมีการทำาวิจัยเพิ่มเติม
               ตามคำาแนะนำาของผู้รับบริการ ในด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความสวยงามต่อไป
                    คำ�สำ�คัญ:  การฝังเข็ม, การออกแบบผลิตภัณฑ์, ความเป็นส่วนตัวด้านร่างกาย, กางเกง 4 ส่วน, เสื้อไม่มีแขน


            Received date 25/04/20; Revised date 25/08/20; Accepted date 29/10/20


                                                    535
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108