Page 17 - ภาพนิ่ง 1
P. 17

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                       ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555         Vol. 10 No. 1 January-April 2012



                                                                       นิพนธ์ต้นฉบับ



          ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน 7 ชนิด


          ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย




          จิราภรณ์ บุราคร*
          เรือนแก้ว ประพฤติ**


            บทคัดย่อ
               สมุนไพรพื้นบ้านไทยจำนวน 7 ชนิดนำมาสกัดสารโดยใช้น้ำ เมทานอล และเอทานอลเป็นตัวทำละลาย ได้นำมาศึกษา
            ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคจำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli ATCC25922, Klebsiella pneumoniae
            ATCC27736, Staphylococcus aureus ATCC6538, Staphylococcus epidermidis ATCC12228 ด้วยวิธี Agar well
            diffusion โดยทดลองใช้สารสกัด (30 µg/plate)  21 ตัวอย่างต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 1 สายพันธุ์ ผลการทดลองพบว่าสาร
            สกัดฟักแม้วด้วยเมทานอลแสดงการยับยั้งเชื้อ E. coli และ S. epidermidis ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของ
            ฤทธิ์ยับยั้ง 20.46 มิลลิเมตร และ 35.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ  สารสกัดสะระแหน่ด้วยน้ำและสารสกัดชะพลูด้วย
            เมทานอล แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ K. pneumoniae และ S. aureus ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของฤทธิ์ยับยั้ง
            19.15 มิลลิเมตร และ 24.77 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อทดสอบหาความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อ
            แบคทีเรียด้วยวิธี Microdilution assay พบว่า ค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC) ของสารสกัดจากฟักแม้ว
            ด้วยเมทานอลในการยับยั้งเชื้อ E. coli  และ S. epidermidis  เท่ากับ 7.81 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 62.50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
            ตามลำดับ สารสกัดสะระแหน่ด้วยน้ำและสารสกัดชะพลูด้วยเมทานอลในการยับยั้งเชื้อ K. pneumoniae และ S. aureus มีค่า
            MIC เท่ากับ 15.62 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และค่า MIC ของสารมาตรฐาน Chloramphenicol ที่ยับยั้งเชื้อ E. coli,
            K. pneumoniae, S. epidermidis และ S. aureus เท่ากับ 15, 7, 31  และ7 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ



                    ภูมิหลังและเหตุผล                      1)  Escherichia coli เป็นเชื้อประจำถิ่น

               ในปัจจุบันมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค  ในระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ไม่
          มากมายทั้งในดิน น้ำ อากาศ  เชื้อแบคทีเรียที่  ก่อโรค แต่พบสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระ
                                                                                           1,2
          เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ก่อโรคที่มักพบปนเปื้อน  ร่วง  โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
          ในห้องน้ำและตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่         สามารถติดต่อได้ทางอาหารหรือผักผลไม้สดที่ปน
                                                     เปื้อนเชื้อ โดยมีการกระจายเชื้อผ่านมือที่ปน
          *สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ เขตราชเทวี
          กทม.10400                                  เปื้อนหรือแมลงสาบและแมลงวัน
          **ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพและสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพ
          และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
          *Corresponding author: jburakorn@hotmail.com

                                                  11
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22