Page 94 - คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง(Palliative Care) แบบบูรณาการ
P. 94

ภาคผนวก     93



            หมายเหตุ    Tumor promotion inhibition      คือ ฤทธิ์ยับยั้งการก่อตัวของเนื้องอก
                        Antimutagenic activity          คือ ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธ์ เซลล์ไปเปลี่ยนรูปเป็นเซลล์มะเร็ง
                        Carcinogenesis inhibition       คือ ฤทธิ์ยับยั้งการก่อตัวของสารที่ท�าให้เกิดมะเร็ง
                        Antioxidant activity            คือ สารที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ



                    พืชผักบางชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ  Proanthocyanidin  ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวเก่ง
            (Super-antioxidant)  พบในมะขามป้อม  สมอไทย สมอพิเภก (ทั้ง 2 ชนิดอยู่ในพิกัดตรีผลา)  เมล็ดมะขาม  เม็ดล�าใย
            เม็ดทุเรียน ผักรสฝาด เช่น มะกอก ผักติ้ว ลูกชิง
                    นอกจากนี้ใยอาหารยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้โดยเฉพาะมะเร็งล�าไส้ เพราะเส้นใยจะช่วยเคลื่อนย้าย
            อาหารให้เข้าสู่ล�าไส้เร็วขึ้น และช่วยก�าจัดสาร carcinogen  โดยช่วยดึงน�้าให้เข้าสู่ทางเดินอาหารท�าให้ carcinogen
            เจือจางลงได้ หรือขณะที่กรดน�้าดีถูกขับไปยังล�าไส้เพื่อช่วยย่อยสลายไขมันที่บริโภคเข้าไป แบคทีเรียในล�าไส้ก็จะ
            เปลี่ยนกรดน�้าดีไปเป็นสารที่ช่วยสนับสนุน (cancer promotor) การเกิดมะเร็งในล�าไส้ เส้นใยจะมีส่วนช่วยก�าจัด
            โดยไปรวมตัวกับน�้าดี นอกจากนี้แบคทีเรียในล�าไส้จะท�าให้เส้นใยเกิดการบูดเสีย ก่อสภาพความเป็นกรดมากขึ้นใน

            ล�าไส้ท�าให้กรดน�้าดีซึ่งเป็นตัวสนับสนุนการเกิดมะเร็งก็จะมีความเป็นกรดน้อยลง นอกจากนี้เส้นใยอาหารยังมีผล
            ต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายอีกด้วย เพราะโดยปกติแล้วฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกขับเข้าสู่ล�าไส้ เส้นใย
            จะรวมตัวเข้ากับฮอร์โมนเอสโตรเจน และขับออกจากร่างกาย ถ้าเส้นใยมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอ ฮอร์โมนเอสโตรเจน
            จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยผ่านทางล�าไส้ ซึ่งถ้าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านม
            สูงด้วย (Kritchevsky, 1986, Lubin et al., 1986)
                    อาหารสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยตรง ได้แก่ พืชที่เป็นอาหารในสกุลขิง ได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้น เปราะหอม
            กระชาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี กระเจี๊ยบแดง ในส่วนของกลีบเลี้ยงแห้งสกัดน�้ามีผลต่อมะเร็งต่อมลูกหมากและ

            ตับ แต่ไม่มีผลต่อมะเร็งชนิดอื่น (อรุณพร อิฐรัตน์ และคณะ, 2549) ย่านางแดงที่ใช้เป็นชาชง มีผลกับมะเร็งหลาย
            ชนิด (Yuenyongsawad et al., 2013, Panchinda et al., 2016) นอกจากนี้ ยังมีพริกไทย และเครื่องเทศอีกหลาย
            ชนิดที่ให้ผลกับมะเร็ง พืชผักที่มีงานวิจัยว่ามีผลต่อมะเร็งเต้านมและมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเซลล์ได้ 50% มีค่า
            ต�่ากว่า 30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร คือ มะเขือพวง ผักติ้วช้าพลู ผักปลังแดง พลูคาว ใบมะม่วงหิมพานต์ ลูกเหรียง
            (ปิยะนุช แสงสุวรรณ และคณะ 2553, กุลศิริ ยศเสถียร และคณะ 2553, กันตา วีระไพบูลย์และคณะ 2553)
                    อาหารช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน อาหารหลายชนิดที่แสดงฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ได้แก่ กระเทียม
            มะขามป้อม ถั่วเหลือง เห็ดหลินจือ ผักสีเขียว เมล็ดธัญพืช เช่น งา ข้าวกล้อง บวบเหลี่ยม บัวบก สมอไทย สะเดา
            บวบขม ขิง มีสาร gingerol ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานและยังลดอาการอักเสบได้จึงป้องกันไม่ให้มะเร็งเจริญมากขึ้น
            อีกด้วย



            บทสรุป
                    ต�ารับยาวัดค�าประมง เป็นต�ารับยาที่สามารถเอามาใช้รักษามะเร็งได้ โดยเฉพาะต�ารับยาน�้าสาบานมีผลต่อ
            มะเร็งตับและท่อน�้าดี ยายอดมะเร็งให้ผลต่อมะเร็งทุกชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และยาสมานฉันท์เป็นยาล้างพิษ
            และบ�ารุงก�าลัง ซึ่งการใช้จะต้องใช้ควบคู่กัน ทั้งสามต�ารับ ส่วนยาอื่นๆ จะให้ในแต่ละกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน หรือ
            มะเร็งเฉพาะ เช่น มะเร็งปอดจะให้เบญจกูล ตรีผลา ซึ่งต�ารับเหล่านี้มีผลงานวิจัยสนับสนุนเรียบร้อยแล้ว นอกจาก
            ต�ารับยาแล้วยังมีอาหารสมุนไพรที่มีส่วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดการเจริญของเซลล์มะเร็งและต้านมะเร็งอีกด้วย
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99