Page 9 - เห็ดเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพ ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
P. 9
เห็ดเศรษฐกิจ เพื่อสุขภาพ
ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
เห็ดเศรษฐกิจในที่นี้หมายถึงเห็ดที่มี
จำหน่ายเป็นการค้าในท้องตลาด แบ่งออกเป็น
2 ประเภทคือ เห็ดที่สามารถเพาะได้และเห็ดที่
ไม่สามารถเพาะได้ สำหรับเห็ดที่สามารถเพาะ
ได้ปรากฎอยู่ในท้องตลาดประมาณ 20 ชนิด
เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม
เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาวเห็ดขอนดำและเห็ดบดเป็นต้น
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเห็ดที่คนนิยมบริโภค ในปี 2544-
2545 ประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยงได้ 121,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 5,446 ล้านบาท
เห็ดที่ไม่สามารถเพาะได้ส่วนใหญ่เป็นเห็ดป่าจากรายงานของอุษา กลิ่นหอมและคณะ (2545)
พบว่าเห็ดจากธรรมชาติที่กินได้ของภาคอีสานมีจำนวน 647 ชนิด ในจำนวนนี้มีจำหน่ายในท้องตลาด
จำนวน 222 ชนิด มีการเก็บจากป่ามาจำหน่ายประมาณ 3,042.9 ตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ
3,000 ล้านบาท/ปี เช่น เห็ดระโงก เห็ดในกลุ่มเห็ดหล่ม (เห็ดไค) เห็ดโคน เห็ดดิน เห็ดผึ้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่าเห็ดที่ไม่สามารถเพาะได้บางชนิดสามารถเพาะบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้แต่ไม่สามารถ
ปลูกลงถุงได้ เช่น เห็ดตับเต่า เห็ดห้า เห็ดเผาะ เป็นต้น สำหรับวัสดุเพาะเห็ดมี 2 รูปแบบหลัก คือใช้
ฟาง นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ในการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ เช่น ผักตบชวา เปลือกถั่ว
เป็นต้น ซึ่งเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ เห็ดมีสารอาหารประเภท โปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรต
และไขมันน้อย แสดงให้เห็นว่า การรับประทานเห็ด จะให้พลังงานที่ต่ำกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์
แต่จะให้พลังงานเทียบเท่ากับอาหารประเภทผัก เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดโคเลสเตอรอล หรือผู้ที่ไม่
รับประทานผักสามารถรับประทานเห็ดแทนได้เพราะเห็ดมีเส้นใยที่เทียบเคียงกับผักบางชนิดได้ เห็ด
ทุกชนิดมีสารพอลิแซคคาร์ไรด์และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีคุณสมบัติในการระงับการเจริญเติบโต
เนื้องอกและลดไขมันในเลือดให้ต่ำลง กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและลดความเป็นพิษที่
8