Page 13 - เห็ดเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพ ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
P. 13

เห็ดเศรษฐกิจ เพื่อสุขภาพ
                                         ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน



                                      ส่วนวิธีการรวบรวมเนื้อหาเล่มนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวน7เล่ม ได้มา
                                   จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์หมอพื้นบ้านใน
                                      ชุมชนแต่ละภาค จากตัวแทนหมอพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค โดยมีการจัด
                                        ประชุมเชิงปฏิบัติการ ทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นการแบ่ง

                                          กลุ่มหมอพื้นบ้าน 4 ภาค ตามความถนัดของการใช้เห็ดในการ
                                          ดูแลผู้ป่วย นำสูตรตำรับยาที่ใช้จริงในชุมชน มาประกอบใน
                                          ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของ อ.อุษา กลิ่นหอม ครั้งที่ 2 – 4 ให้

                                          หมอพื้นบ้านทั้งหมดจาก 4 ภาค ร่วมพิจารณาสูตร/ตำรับยา
          ในเชิงเหตุและผล โดยเน้นประเด็นสำคัญ เช่น กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใช้เห็ดในการดูแลสุขภาพ สรรพคุณ
          การใช้กับผู้ป่วย ส่วนประกอบของเห็ดในสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย วิธีการปรุงยา การรับประทาน
          รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้ เป็นต้น ซึ่งสูตรตำรับใดเห็นว่าไม่เหมาะสม เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยต่อ
          ผู้ป่วยหรือผู้นำไปใช้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็จะคัดออกไป โดยในแต่ละประเด็นหมอพื้นบ้านแต่ละ

          ท่านได้แสดงความคิดเห็นจนเป็นที่ยอมรับของทุกคนจึงจะนำมารวบรวมองค์ความรู้เป็นฐานข้อมูล ใน
          ครั้งสุดท้าย ได้เชิญผู้บริหารในกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หมอพื้นบ้าน
          และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเห็ด มาร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในด้านการได้มาซึ่งข้อมูลที่มีหลัก

          ฐานใช้ในการอ้างอิงได้ จึงถือได้ว่าเนื้อหาของข้อมูลที่ได้รวบรวมในเล่มนี้ เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และ
          เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ทั้งอาจารย์จากสถาบันการศึกษา นักวิชาการ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่
          ผู้เกี่ยวข้อง สามารถที่จะนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของตำรับ
          ยาเหล่านี้ว่าได้ผลจริงหรือไม่ อย่างไรจึงถือได้ว่าเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีใน
          การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านเหล่านี้ให้เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของประชาชนใน

          อนาคตมากขึ้นและอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่การแพทย์แผนปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน
          การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเห็ด ดังต่อไปนี้


                                                      12
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18