Page 45 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 45
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565 Vol. 20 No. 3 September-December 2022
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้า
ปรีชา หนูทิม , ลักขณา รามวงศ์, พรชัย สว่างวงค์, พิมพ์ลดา พงศ์ชัยชานนท์, อมรรัตน์ ราชเดิม
*
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แขวงคลองมหานาค
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10100
ผู้รับผิดชอบบทความ: preecha.nootim@gmail.com
*
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วควบคุมระดับน�้าตาลในเลือดไม่ได้จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
ในหลายระบบของร่างกายโดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานจะส่งผลกระทบต่อ
ร่างกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในปัจจุบันมีการใช้ยาสมุนไพรส�าหรับดูแลภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในสูตรต�ารับยาลูกประคบใน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้ามาก่อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผล
และความปลอดภัยของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในสูตรต�ารับยาลูกประคบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการชา
เท้า 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการแช่เท้าด้วยน�้าสมุนไพรอุ่นและกลุ่มควบคุมได้รับการแช่เท้าด้วย
น�้าอุ่นที่ไม่มีสมุนไพร โดยทั้งสองกลุ่มแช่เท้าในขณะที่น�้ามีอุณหภูมิ 38-40˚ซ. ด้วยตนเองที่บ้าน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้
เวลาในการแช่เท้าครั้งละ10 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 12 ครั้ง ประเมินประสิทธิผลโดยการประเมิน
ความรู้สึกของเท้าเพื่อหาจุดรับความรู้สึกที่ผิดปกติ ด้วย monofilament 10 g. และประเมินความปลอดภัยด้วยการวัด
อุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าโดยใช้กล้องอินฟราเรด ถ่ายภาพบริเวณหลังเท้าและฝ่าเท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired sample
t-test และความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองภายในกลุ่ม
แช่เท้าสมุนไพรจุดรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ (ข้างซ้าย) ลดลงอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.001) แต่ไม่แตกต่างกัน
ทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแช่เท้าไม่มีสมุนไพร และจุดรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ (ข้างขวา) ภายในกลุ่มทั้งสอง
กลุ่มลดลงอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.001) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มแช่เท้าด้วยสมุนไพรกับกลุ่ม
แช่เท้าไม่มีสมุนไพร ในขณะที่อุณหภูมิบริเวณเท้าเพิ่มขึ้นทั้งสองข้างและทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติทั้ง
ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มแช่เท้าสมุนไพรและกลุ่มแช่เท้าไม่มีสมุนไพร ดังนั้น การแช่เท้าด้วยสมุนไพรในน�้าที่
อุณหภูมิ 38-40˚ซ. ช่วยลดจุดที่ไม่รับความรู้สึกบริเวณเท้าและมีความปลอดภัย ทั้งนี้ส�าหรับการแช่เท้าไม่มีสมุนไพร
ด้วยน�้าที่อุณหภูมิ 38-40˚ซ. สามารถท�าได้และมีความปลอดภัยเช่นกัน
ค�ำส�ำคัญ: แช่เท้าสมุนไพร, เบาหวานชนิดที่ 2, ชาเท้า
Received date 15/02/22; Revised date 09/06/22; Accepted date 29/11/22
459