Page 37 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
P. 37
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2565 Vol. 20 No. 1 January-April 2022
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลของการอบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า
ในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า
ปรีชา หนูทิม , มณีรัตน์ ชื่นใจ, พรชัย สว่างวงค์, พิมพ์ลดา พงศ์ชัยชานนท์, อมรรัตน์ ราชเดิม
*
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตำาบลตลาดขวัญ
อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
ผู้รับผิดชอบบทความ: preecha.nootim@gmail.com
*
บทคัดย่อ
ข้อเข่าเสื่อมพบเป็นอันดับแรกของโรคข้อเสื่อมทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกก�าลังเผชิญ และส่ง
ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเทียบเคียงอาการกับโรคลมจับโปงแห้งเข่าตามศาสตร์
การแพทย์แผนไทย การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการใช้ยาสมุนไพร หรือการนวดรักษาและประคบ
สมุนไพรมีประสิทธิผลที่ดีในการบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ยังไม่มีการใช้ยาสมุนไพรด้วยสูตรของลูกประคบร่วมกับ
การอบสมุนไพรในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่ามาก่อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง เพื่อศึกษา
ประสิทธิผลของการอบสมุนไพรในการบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า 2 กลุ่ม กลุ่มละ 31 คน
กลุ่มทดลองได้รับการอบสมุนไพรและกลุ่มควบคุมได้รับการอบไอน�้า โดยรับการอบ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (วันจันทร์ พุธ
และศุกร์) ใช้เวลาในการอบ 15 นาที พักนอกห้องอบ 5 นาที และเข้าอบต่ออีก 15 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวม
ทั้งหมด 12 ครั้ง ประเมินประสิทธิผลโดยแบบประเมินระดับอาการปวด (VAS) องศาการเคลื่อนไหว (ROM) และ
อาการด�าเนินโรคด้วยแบบประเมิน WOMAC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ repeated measures ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ในสัปดาห์ที่ 3 และสัปดาห์ที่ 4 กลุ่ม
ทดลองมีระดับอาการปวด (VAS) ลดลงกว่าก่อนการอบสมุนไพรและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยส�าคัญทาง
สถิติ (p < 0.001) องศาการเคลื่อนไหว (ROM) การเหยียดเข่าข้างซ้าย การงอเข่าข้างซ้าย และการเหยียดเข่าข้างขวา
เพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-4 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และองศาการงอเข่าข้างขวาของกลุ่มทดลองเพิ่ม
ขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.001) ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-3 และ (p < 0.005) ในสัปดาห์ที่ 4 ผลการ
ประเมินด้วยแบบวัด WOMAC กลุ่มทดลองมีระดับความปวด การติดขัดของข้อ และประสิทธิภาพการใช้งานข้อดีขึ้น
กว่าก่อนการอบสมุนไพร เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความปวดน้อยกว่า
กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.01) และ (p < 0.001) ในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ตามล�าดับ การติดขัดของ
ข้อน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.05) และ (p < 0.001) ในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ตามล�าดับ และ
ประสิทธิภาพการใช้งานข้อดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.01) และ (p < 0.001) ในสัปดาห์
ที่ 3 และ 4 ตามล�าดับ ดังนั้น การอบสมุนไพรสามารถลดอาการปวด ลดความรุนแรงของโรค เพิ่มประสิทธิภาพการ
ใช้งานของข้อตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ความร้อนจากการอบเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อบริเวณข้อท�าให้มีแนวโน้มอาการ
ปวดลดลง องศาของเข่าดีขึ้น และอาการด�าเนินโรคดีขึ้น
คำ�สำ�คัญ: อบสมุนไพร, บรรเทาอาการปวด, โรคลมจับโปงแห้งเข่า, ข้อเข่าเสื่อม
Received date 14/06/21; Revised date 25/01/22; Accepted date 31/03/22
17