Page 43 - journal-14-proceeding
P. 43
บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14
OP60R2R0013 ผลการนวดและประคบเตานมเพื่อกระตุนการไหลของน้ํานมใน
มารดาหลังคลอดโรงพยาบาลภูสิงห จังหวัดศรีสะเกษ
อมรินทร ชะเนติยัง
งานแพทยแผนไทย โรงพยาบาลภูสิงห จังหวัดศรีสะเกษ
หลักการและเหตุผล น้ํานมไมไหลหรือไหลนอย ในมารดาหลังคลอดจัดเปนอุปสรรคตอความสําเร็จในการเลี้ยง
บุตรดวยนมมารดา และเปนสาเหตุทําใหมารดายุติการใหนมบุตรในระยะเริ่มแรก ปจจุบันการแพทยแผนไทย
เริ่มมีบทบาทและมีความสําคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนมากขึ้น กรมการแพทยแผนไทยฯไดมีการจัดตั้ง
service plan สาขาแพทยแผนไทยขึ้น เพื่อใหประชาชนเขาถึงระบบบริการสุขภาพดานการแพทยแผนไทยได
โดยเฉพาะอยางยิ่งการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอด ในสถานบริการสาธารณสุขจึงไดนําศาสตรการแพทย
แผนไทยมาใชสงเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดน้ํานมไมไหลหรือไหลนอย ซึ่งเปนปญหาสําคัญของครอบครัวใน
การเลี้ยงดูบุตร เพื่อลดผลกระทบตอการยุติการใหนมบุตรในระยะเริ่มแรกไดอยางมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลของการนวดและประคบสมุนไพรกระตุนน้ํานมตอปริมาณการไหลของน้ํานมใน
มารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลภูสิงห จังหวัดศรีสะเกษ ระหวาง มีนาคม – ธันวาคม 2559
วิธีดําเนินการ ศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) คัดเลือกกลุมตัวอยางแบบเจาะจง 60
ราย โดยมีคุณสมบัติ คลอดปกติอยูระหวางพักฟน 3 วัน หัวนมปกติ ไมแพหรือมีอาการแทรกซอนในการใช
สมุนไพร มีภาวะน้ํานมไหลนอย แบงกลุมทดลองและควบคุมกลุมละ 30 ราย ใชโปรแกรมการนวดและประคบ
เตานมใน 6, 12, 18, และ 30 ชั่วโมงหลังคลอด เปรียบเทียบกัน 2 กลุมในชวงเวลาเดียวกัน โดยควบคุมตัว
แปรไดแก จํานวนครั้งที่ลูกดูดนม ปริมาณน้ําที่มารดาดื่มในแตละวัน นวดและประคบเตา 20 นาที/ราย และ
บันทึกจํานวนครั้งที่ลูกดูดนม 2 ชั่วโมง/ครั้ง แบงการวัดเปน 5 ระดับ ไดแก ระดับคะแนนที่ 1-5 ( น้ํานมไม
ไหล,ไหลนอย,เริ่มไหล,ไหลแลว และ ไหลดีตามลําดับ) เครื่องมือใชคือ แบบสอบถามขอมูลทั่วไป และแบบ
ประเมินการไหลของน้ํานม (ชุติมาพร ไตรนภากุลและคณะ) วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ
ทดสอบคา t
ผลการศึกษา พบวา 6 ชั่วโมงแรกของกลุมทดลองมีคะแนนอยูในระดับ 3 คะแนน ซึ่งเปนคาคะแนนที่วัดระดับ
น้ํานมเริ่มไหลจํานวน 23 รายคิดเปนรอยละ 78 สวนกลุมควบคุมมีคะแนนอยูในระดับ 3 คะแนน จํานวน 3
ราย คิดเปนรอยละ 10 สวนการไหลของน้ํานมพบวากลุมทดลองมีคาเฉลี่ย 6 ชั่วโมงแรกแตกตางกันกับกลุม
ควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ P-value < 0.001 โดยกลุมทดลองมีคาเฉลี่ยมากกวากลุมควบคุม 1.15
คะแนน (SD = 0.21) 12 ชั่วโมงมีคะแนนเฉลี่ยแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ P-value < 0.001 โดย
กลุมทดลองมีคาเฉลี่ยมากกวากลุมควบคุม 1.25 คะแนน (SD = 0.22) 18 ชั่วโมง กลุมทดลองมีคะแนนเฉลี่ย
แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ P-value < 0.001 โดยกลุมทดลองมีคาเฉลี่ยมากกวากลุมควบคุม 1.7
คะแนน (SD = 0.23) และ 30 ชั่วโมงมีคะแนนเฉลี่ยแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ P-value < 0.001
โดยกลุมทดลองมีคาเฉลี่ยมากกวากลุมควบคุม 1 คะแนน (SD = 0.16)
ขอสรุป การนวดและประคบเตานมมีผลทําใหน้ํานมไหลดีและไหลเร็วขึ้น จึงควรสนับสนุนใหมีการจัด
โปรแกรมนวดและประคบเตานม และขยายเครือขายสูสถานบริการสาธารณสุขในเขตอําเภอภูสิงหตอไป
41