Page 40 - เห็ดเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพ ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
P. 40
เห็ดเศรษฐกิจ เพื่อสุขภาพ
ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
เห็ดนางฟ้า
Lentinus sajor-caju (Fr.) Fries
เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นในประเทศอินเดียเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2496 หรือ 61 ปี
มาแล้ว กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้นำเชื้อมาทดลองในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2520
ผลการทดลองแสดงว่าเห็ดสามารถเติบโตได้ดี นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้นำเห็ดจากประเทศภูฏานเข้ามา
เผยแพร่ในประเทศไทยคือเห็ดนางฟ้าภูฏาน ซึ่งมีหลายสายพันธ์และเป็นที่นิยมกันมากในการเพาะ
เห็ดเพื่อการค้า
“เห็ดนางฟ้า” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในประเทศไทย คนไทยบางคนเรียกเห็ดนางฟ้าว่า “เห็ดแขก”
เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัย กล่าวคือมีผู้พบเห็นครั้งแรกว่าเห็ดนี้ขึ้นตามธรรมชาติบนตอ
ไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุในแถบเมืองเจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย เห็ดนางฟ้า หรือ Bhuthanese
oyster mushroom แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เห็ดนางฟ้าดั้งเดิม และเห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดนางฟ้า
ภูฏานเป็นเห็ดที่จัดอยู่ในกลุ่มเห็ดนางรม oyster mushroom เช่น เดียวกับเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้ามี
ลักษณะที่สำคัญแตกต่างกับเห็ดนางรมอย่างชัดเจนได้แก่ เห็ดนางฟ้ามีดอกสีออกเทาเข้ม ดอกมีเนื้อ
แน่นกว่า นำมาปรุงอาหารได้รสชาติที่ดีและดอกไม่เหี่ยวเหมือนเห็ดนางรม ดังนั้นเมื่อเห็ดนางฟ้าแพร่
กระจายสู่เกษตรกรในระยะแรกจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้บริโภค ซึ่งเห็ดนางฟ้าที่มีอยู่ใน
ประเทศไทยมีอย่างน้อย 2 ชนิดคือ เห็ดนางฟ้าชนิดดั้งเดิม และเห็ดนางฟ้าภูฏาน
39