Page 90 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 90
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2566 Vol. 21 No. 3 September-December 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาขี้ผึ้งกัญชากับยาขี้ผึ้งไพล ในการรักษา
อาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเรณูนคร
จังหวัดนครพนม
วันชนะ วงษ์ชาชม , ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง , เสฏฐวุฒิ ไชยเทศ ‡
†
*,§
* กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ตำาบลในเมือง อำาเภอเมืองนครพนม
จังหวัดนครพนม 48000
† คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ตำาบลเชียงเครือ อำาเภอเมือง
จังหวัดสกลนคร 47000
‡ แผนกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเรณูนคร ตำาบลโพนทอง อำาเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 48170
§ ผู้รับผิดชอบบทความ: tonicyong@gmail.com
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: อาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ มักเป็นอาการปวดเรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพกาย
คุณภาพชีวิต อารมณ์ และจิตใจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรักษา ปัจจุบันมีการใช้สมุนไพร “กัญชา” ในรูปแบบน�้ามัน
และสเปรย์ในการรักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลของกัญชาในรูปแบบยาขี้ผึ้งใน
การรักษาอาการอาการปวดกล้ามเนื้อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาขี้ผึ้งกัญชา
กับยาขี้ผึ้งไพลในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่
วิธีกำรศึกษำ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ท�าการศึกษาในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัด
นครพนม ที่มารับบริการ ณ คลินิกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเรณูนคร และได้รับการ
วินิจฉัยว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 จ�านวน
60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย จับฉลากแบบไม่ใส่คืน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาขี้ผึ้ง
กัญชา จ�านวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับยาขี้ผึ้งไพล จ�านวน 30 คน ทายาขี้ผึ้งบริเวณที่มีอาการปวด วันละ 2 ครั้ง ติดต่อ
กัน 14 วัน ประเมินระดับอาการปวดกล้ามเนื้อก่อนและหลังใช้ยาด้วยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข คะแนน 0 ถึง 10
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับโรคและอาการเจ็บป่วย โดยน�ามา
แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลต่างคะแนนความปวดกล้ามเนื้อก่อนและ
หลังใช้ยาขี้ผึ้งแต่ละชนิด โดยใช้สถิติ paired t-test และเปรียบเทียบผลต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ unpaired t-test
ผลกำรศึกษำ: ยาขี้ผึ้งกัญชาและยาขี้ผึ้งไพลสามารถลดระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ได้อย่างมีนัย
ส�าคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 7 วัน และ 3 วัน ตามล�าดับ เมื่อเปรียบเทียบความแตก
ต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า ยาขี้ผึ้งกัญชามีประสิทธิผลในการลดระดับอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ไม่แตกต่างจาก
ยาขี้ผึ้งไพล และไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์
Received date 10/06/23; Revised date 30/09/23; Accepted date 13/12/23
573