Page 23 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 23

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 20  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2565   Vol. 20  No. 3  September-December  2022




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            ประสิทธิผลของสารสกัดว่านหางจระเข้เปรียบเทียบกับ omeprazole

            ในการรักษาโรคกรดไหลย้อน



            ฐานิดา มานิตย์โชติพิสิฐ , มาศ ไม้ประเสริฐ
                                *
            สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
            จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10210
            * ผู้รับผิดชอบบทความ:  wowthanida@gmail.com







                                                 บทคัดย่อ

                    โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะเรื้อรังที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนกลางอกและเรอเปรี้ยวเป็นอาการเด่น
               ซึ่งส่งผลรบกวนต่อคุณภาพชีวิตได้ การรักษาประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาลดการหลั่งกรดใน
               กระเพาะอาหาร แต่การรับประทานยาลดกรดเป็นเวลานานในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะกรดในกระเพาะอาหารเกินท�าให้
               เกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ซึ่งท�าให้เกิดการอักเสบและท�าลายเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดอาหาร
               ในระยะยาว ทั้งนี้สารสกัดว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวดและ
               ต้านจุลินทรีย์  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดว่านหางจระเข้ชนิดแคปซูล 70 มิลลิกรัม
               เปรียบเทียบกับ omeprazole ในการลดความถี่อาการและความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อนเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์
               วิธีการศึกษาเป็นรูปแบบการทดลองแบบสุ่ม โดยท�าแบบประเมินความถี่อาการและความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน
               ประกอบด้วย 5 อาการ ได้แก่ แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กลืนล�าบาก ท้องอืด และคลื่นไส้/อาเจียน แล้วนัดมาติดตาม
               ที่ 2 และ 4 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบความถี่ของการเกิดอาการและความรุนแรงของแต่ละอาการด้วยสถิติ Generalized
               Estimating Equations ส�าหรับข้อมูลต่อเนื่องที่วัดซ�้าและมี correlation แบบตัวแปรพหุ จากการศึกษาพบว่าสารสกัด
               ว่านหางจระเข้ลดความถี่อาการกลืนล�าบากและลดความรุนแรงอาการแสบร้อนกลางอกได้ดีกว่า omeprazole อย่างมี
               นัยส�าคัญทางสถิติ โดยความถี่เฉลี่ยของอาการกลืนล�าบากในกลุ่มสารสกัดว่านหางจระเข้ลดลง 0.12 ครั้งต่อสัปดาห์
               เปรียบเทียบกับ omeprazole ลดลง 0.04 ครั้งต่อสัปดาห์ที่ p-value 0.042 และความรุนแรงของอาการแสบร้อนกลาง
               อกในกลุ่มสารสกัดว่านหางจระเข้ลดลง 2.31 คะแนนต่อสัปดาห์ เปรียบเทียบกับ omeprazole ลดลง 1.40 คะแนนต่อ
               สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ p-value 0.036 แต่มีรายงานอาการปวดท้องและท้องเสียหลังใช้สาร
               สกัดว่านหางจระเข้  ดังนั้นจึงอาจใช้สารสกัดว่านหางจระเข้เป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อน
               ได้

                    คำ�สำ�คัญ:  โรคกรดไหลย้อน, ยา omeprazole, สารสกัดว่านหางจระเข้ชนิดแคปซูล





            Received date 16/02/22; Revised date 30/07/22; Accepted date 29/11/22


                                                    437
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28