Page 29 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1
P. 29
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2563 Vol. 18 No. 1 January-April 2020
นิพนธ์ต้นฉบับ
การใช้สมุนไพรและประสบการณ์อาการของผู้ป่วยมะเร็ง: การสำารวจภาค
ตัดขวางกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่รับตำารับยาสมุนไพรของนายแสงชัย แหเลิศตระกูล
มณฑกา ธีรชัยสกุล , ธนัช นาคะพันธ์ , รสสุคนธ์ กลิ่นหอม , ฉัตรทิพย์ ศิลารังษี ,
†
‡
*,#
†
่
กมลวรรณ บานชื่น , ธนัญชนก ฉำาเย็นอุรา , นุชลดา โรจนประภาพรรณ , ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ¶
†
§
§
* กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
† สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
‡ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ สถาบันราชานุกูล กรุงเทพมหานคร 10400
§ สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000
¶ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
ผู้รับผิดชอบบทความ: monthaka.t@gmail.com
#
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์ที่มีผู้ป่วยมะเร็งจำานวนมากไปรอรับแจกตำารับยาสมุนไพรของนายแสงชัย แหเลิศตระกูล ในช่วง
ปี พ.ศ. 2560 สะท้อนความต้องการของผู้ป่วยมะเร็งที่แสวงหาทางรักษาโรคมะเร็งด้วยสมุนไพร การศึกษานี้จึงมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากร วิธีการรักษาโรคมะเร็ง และประสบการณ์ของกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่รับตำารับ
ยาสมุนไพรดังกล่าว การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง สำารวจข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่รับตำารับยา
สมุนไพรของนายแสงชัย แหเลิศตระกูล ณ จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างมกราคม - มีนาคม 2561 โดยใช้แบบสอบถาม
ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มีผู้เข้าร่วมวิจัยคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำานวน
1,086 ราย มีอายุเฉลี่ยที่ 53.21 ± 10.24 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.45 ผู้เข้าร่วมวิจัยจำานวน 221 ราย (ร้อยละ 20.34)
เคยใช้การแพทย์ทางเลือกอื่นและสมุนไพรร่วมรักษา นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมวิจัยจำานวน 648 ราย (ร้อยละ 59.66) เปิด
เผยว่า ตนไม่ได้อยู่ในกระบวนการรักษามาตรฐานของโรคมะเร็งแล้ว โดยเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยที่รักษาตามกระบวนการ
มาตรฐานครบถ้วนแล้วจำานวน 429 ราย (ร้อยละ 66.20) ขณะที่จำานวน 123 ราย (ร้อยละ 18.98) อยู่ระหว่างรอการ
รักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐาน และอีกจำานวน 96 ราย (ร้อยละ 14.81) ปฏิเสธการรักษาแบบแผนปัจจุบัน อาการของ
โรคมะเร็ง 5 อาการที่ทำาให้ผู้เข้าร่วมวิจัยไม่สบายเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อย คือ อาการปวด อ่อนล้า นอนไม่
หลับ ชาปลายมือ และกังวลกลุ้มใจ ทั้งนี้ไม่พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่าจำานวน 478
รายที่ใช้ยาตำารับยาสมุนไพรของนายแสงชัย แหเลิศตระกูล การศึกษานี้เป็นการสำารวจในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งขนาดใหญ่
ที่แสดงให้เห็นถึงการรักษามะเร็งรูปแบบอื่นของผู้ป่วย ตลอดจนระบุ 5 อาการหลักที่ทำาให้ผู้ป่วยมะเร็งไม่สบาย อีก
ทั้งระบุผู้ป่วยมะเร็งจำานวน 123 รายที่กำาลังรอการรักษาในระบบบริการ ผลการศึกษานี้จะช่วยพัฒนาการจัดบริการ
สาธารณสุขแก่ผู้ป่วยมะเร็งแบบองค์รวมต่อไป
คำ�สำ�คัญ: ความต้องการใช้สมุนไพร, ประสบการณ์การมีอาการ, ผู้ป่วยมะเร็ง, ตำารับยาสมุนไพร
Received date 08/07/19; Revised date 25/11/19; Accepted date 06/02/20
19