Page 117 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 117
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2566 Vol. 21 No. 3 September-December 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงเลียงพร้อมปรุงและแนวคิดธุรกิจอาหาร
ละเอียด แจ่มจันทร์ , ศิริญญา ชุ่มเต็ม, ชัยณรงค์ นาคเทศ, เบญจวรรณ ธรรมธนารักษ์
*
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ แขวงยานนาวา เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10120
* ผู้รับผิดชอบบทความ: laiad@slc.ac.th
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: องค์การอนามัยโลกก�าหนดเกณฑ์ให้บุคคลบริโภคผักผลไม้ 400-500 กรัมต่อวัน
เพื่อการสร้างสุขภาพและป้องกันโรค ผลการศึกษาพบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 71.1 บริโภคผักผลไม้น้อย
กว่าเกณฑ์ ส�านักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพจึงมีเป้าหมายรณรงค์ให้คนไทยร้อยละ 50 ของประชากร เพิ่มการกิน
ผักและผลไม้ ให้มากกว่าวันละ 400 กรัม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาอาหาร
ไทย และประกาศให้แกงเลียงเป็นอาหารสุขภาพ จากสรรพคุณสมุนไพรและการบริโภคพืชผักในท้องถิ่นทุกฤดูกาล
สอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมไทยเรื่องอาหารเป็นยา วัตถุประสงค์การศึกษา คือ 1) ศึกษาต�ารับแกงเลียง
จากภูมิปัญญาไทย 2) พัฒนาต�ารับเครื่องแกงเลียงต้นแบบ 3) ประเมินความชอบเครื่องแกงเลียงพร้อมปรุง 4) ศึกษา
แนวคิดธุรกิจของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงเลียงพร้อมปรุง
วิธีกำรศึกษำ: ศึกษาและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เล่าเรื่องแกงเลียงจากแม่ครัว 4 ภูมิภาค 2) พัฒนาต�ารับ
เครื่องแกงเลียงต้นแบบ 3 ครั้ง ประเมินความชอบจากผู้เข้าร่วมวิจัยครั้งละ 9 คน รวม 27 คน ใช้เครื่องแกงเลียงต้นแบบ
3 เป็นเครื่องแกงเลียงพร้อมปรุง 3) ประเมินความชอบเครื่องแกงเลียงพร้อมปรุงและแนวคิดธุรกิจของผลิตภัณฑ์ จาก
ผู้เข้าร่วมวิจัย 84 คน
ผลกำรศึกษำ: พบว่า 1) แกงเลียงเป็นอาหารไทยที่รู้จักกันดีในทุกภูมิภาค มีเครื่องปรุงหลัก 3 ส่วน เท่า ๆ กัน
ได้แก่ หอมแดง กระชาย กุ้งแห้งกับกะปิ และพริกไทยตามชอบ ปรุงจากผักพื้นบ้านทุกฤดูกาล 2) เครื่องแกงเลียง
พร้อมปรุงมีสัดส่วนเครื่องปรุง (1) หอมแดง 25% (2) กระชาย 20% (3) กุ้งแห้ง 30% กับกะปิ 15% และพริกไทย 10%
3) ความชอบเครื่องแกงเลียงพร้อมปรุง ผู้เข้าร่วมวิจัยชอบรสชาติระดับมากที่สุด ชอบกลิ่น สี ลักษณะปรากฏ และ
ความพอดีในระดับมาก 4) แนวคิดธุรกิจอาหาร 4 เรื่อง ได้แก่ (1) ปรุงแกงเลียงเป็นเมนูอาหารสุขภาพในห้องอาหาร
(2) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลายทาง (3) ส่งเสริมการตลาด จ�าหน่าย จัดนิทรรศการและแจกตัวอย่าง (4) มีผลิตภัณฑ์
หลายแบบและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย
อภิปรำยผล: เครื่องแกงเลียงพร้อมปรุงมีสรรพคุณของสมุนไพรที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใช้ปรุงเป็นแกงเลียงผัก
ชนิดต่าง ๆ ช่วยให้บุคคลบริโภคผักได้มากขึ้นและสะดวกในการปรุง ใช้เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักในวัยผู้ใหญ่ ผู้สูง
อายุ และแม่ระยะให้นม โดยเลือกสรรผักพื้นบ้านที่มีสรรพคุณต่อสุขภาพ เช่น หัวปลีส�าหรับแม่หลังคลอด ผักเชียง
ดาส�าหรับผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งมีแนวทางการจัดการธุรกิจอาหารสุขภาพที่มีสรรพคุณสมุนไพร เพื่อจ�าหน่ายใน
บริการของโรงพยาบาล
Received date 21/03/23; Revised date 18/09/23; Accepted date 18/12/23
600