Page 104 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 104
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2566 Vol. 21 No. 3 September-December 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สครับบอลจากสารสกัดใบพลู
อำ�พล บุญเพียร, ณัฎฐ� เชิดชูธีรกุล , อริศร� ธน�นุศักดิ์, ชัชญ�ภรณ์ ทองดอนคำ�, ณัฏฐณิช� ปันแจ่ม
*
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลราษฎร์นิยม อำาเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150
* ผู้รับผิดชอบบทความ: natta@kmpht.ac.th
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: ปัญหาของกลิ่นเท้า ถึงแม้จะไม่มีความรุนแรงแต่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และความ
มั่นใจของผู้ที่มีปัญหา ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากธรรมชาติที่ช่วยระงับกลิ่นเท้ายังมีค่อนข้างน้อย การศึกษา
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis ของสารสกัดจากใบพลู พัฒนา
ผลิตภัณฑ์สครับบอลลดกลิ่นเท้าจากสารสกัดใบพลู ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. epidermidis ของผลิตภัณฑ์ และ
ศึกษาความพึงพอใจของการใช้ผลิตภัณฑ์
วิธีกำรศึกษำ: ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อด้วยวิธี disc diffusion และ broth microdilution และน�าค่าความเข้มข้นของ
สารสกัดใบพลูมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาพัฒนาต�ารับสครับบอลขัดผิว ทดสอบความคงตัวทางชีวภาพ
และน�าไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง จ�านวน 40 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความพึง
พอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลกำรศึกษำ: สารสกัดหยาบจากใบพลู ไม่พบค่า inhibition zone เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion แต่แสดง
ค่า Minimal Inhibitory Concentration (MIC) เท่ากับ 375 µg/ml และมีค่า Minimal Bactericidal Concentration
(MBC) เท่ากับ 1,500 µg/ml เมื่อทดสอบด้วยวิธี broth microdilution และพบว่าผลิตภัณฑ์ต�ารับที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย
transparent glycerin soap base, polyethylene glycol, coconut oil, sodium lauryl sulfate, glydant, acetic acid luffa
scrub มีความคงตัวเหมาะสมที่สุดซึ่งมีค่า Inhibition zone เท่ากับ 6.88 ± 0.26 mm. หลังการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ใน
กลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.32 ± 0.54)
อภิปรำยผล: ใบพลูมีสารส�าคัญกลุ่ม phenols เช่น eugenol และ chavicol ซึ่งปริมาณการใช้สารสกัดในระดับ
ความเข้มข้น 1,500 µg/ml เป็นปริมาณต�่าสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ นอกจากนี้ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สครับ
บอลที่ประกอบด้วย glydant และ polyethylene glycol ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อและรักษาความคงตัว
ด้านการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ ต�ารับที่มีส่วนประกอบของ transparent glycerin soap base ปริมาณ 26.25% เป็นต�ารับ
ที่มีความคงตัวทางกายภาพ และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อเมื่อเก็บที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 30 วัน ซึ่งภาพความพึง
พอใจรวมของรูปแบบการใช้งานอยู่ในระดับมาก
ข้อสรุป และข้อเสนอแนะ: ผลิตภัณฑ์สครับบอลจากใบพลูสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งส�าหรับผู้ที่สนใจ
ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติในการแก้ปัญหากลิ่นเท้า เป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้ และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพร
ท้องถิ่น และสามารถน�าไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป
ค�ำส�ำคัญ: สครับบอล, กลิ่นเท้า, ใบพลู
Received date 06/01/23; Revised date 23/09/23; Accepted date 18/12/23
587