Page 116 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 116

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 18  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2563   Vol. 18  No. 3  September-December 2020




                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           การศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดปอบิด



           พราว ศุภจริยาวัตร , สุจริต อุ่นกาศ , วิจิตรา สุดห่วง , เสกรชตกร บัวเบา , พรชัย สินเจริญโภไคย
                                                                        †
                           *,#
                                                       *
                                                                                            *
                                         *
           * ห้องปฏิบัติการพิษวิทยา สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถนนติวานนท์ อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
           † ศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถนนติวานนท์ อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
           # ผู้รับผิดชอบบทความ :  praw.s@dmsc.mail.go.th










                                                บทคัดย่อ

                   ปอบิด (Helicteres isora L.) เป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปและนักวิจัยเป็นอย่างมาก โดยอ้าง
              ถึงสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรค รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรปอบิด มีการวางจำาหน่ายและการบริโภคของ
              ประชาชนอย่างแพร่หลาย แต่ข้อมูลด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยมีอยู่น้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
                                                       ้
              การก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดปอบิด 2 รูปแบบ (สกัดด้วยนำาและ 95% เอทานอล) โดยใช้วิธีอ้างอิงจาก OECD test
              guideline 471 ใช้เชื้อ Salmonella typhimurium 4 สายพันธุ์ (TA98, TA100, TA1535, TA1537) และ Escherichia
              coli WP2 ที่ขนาดทดสอบ 5 ระดับ (625, 1,250, 2,500, 5,000 และ 10,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) ในระบบที่ไม่มี
                                                     ้
              เอนไซม์กระตุ้น ผลการทดลองพบว่าสารสกัดปอบิดด้วยนำา ทุกขนาดทดสอบทุกสายพันธุ์ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และ
              background lawn ปกติ ส่วนสารสกัดปอบิดด้วย 95% เอทานอล ผลการทดลองพบว่า ทุกขนาดทดสอบทุกสายพันธุ์
              ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ แต่ในสายพันธุ์ TA100 เกิด killing effect ที่ขนาดทดสอบ 10,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ
              TA1537 เกิด killing effect ที่ขนาดทดสอบมากกว่า 2,500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นในเบื้องต้น
                               ้
              ว่า สารสกัดปอบิดด้วยนำาอาจจะมีความปลอดภัยในการนำามาใช้เป็นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ในขนาดที่ทดสอบ แต่
              สารสกัดปอบิดด้วย 95% เอทานอล หากจะนำามาใช้ ความเข้มข้นต้องไม่เกิน 2,500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ผลที่ได้จาก
              งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยและเตือนภัยการใช้ผลิตภัณฑ์ปอบิดแก่ประชาชน

                   คำ�สำ�คัญ:  การก่อกลายพันธุ์, สารสกัดปอบิด, การทดสอบเอมส์













           Received date 29/05/20; Revised date 01/10/20; Accepted date 30/10/20


                                                   548
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121