Page 15 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1
P. 15
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2563 Vol. 18 No. 1 January-April 2020
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลการพอกตำารับยาห้ารากบรรเทาอาการปวดบริเวณตำาแหน่งตับ
ใต้ชายโครงข้างขวาตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะ
สุดท้ายด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการ
แพทย์ผสมผสาน
ปรีชา หนูทิม , อมรรัตน์ ราชเดิม, วรวุฒิ รักไทรทอง
*
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 11000
* ผู้รับผิดชอบบทความ: preecha.nootim@gmail.com
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายส่วนใหญ่ได้รับความทุกข์ทรมานจากความปวดโดยเฉพาะการปวดบริเวณตำาแหน่ง
ตับใต้ชายโครงข้างขวาบริเวณที่ตั้งของตับ หากไม่ได้รับการบรรเทาความปวดที่มีประสิทธิภาพ อาจมีผลต่อการรักษา
และคุณภาพชีวิต การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพอกตำารับยาห้าราก บรรเทาอาการ
ปวดบริเวณตำาแหน่งตับใต้ชายโครงข้างขวาตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายด้าน
การแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาล
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน จำานวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่ากัน กลุ่มควบคุม ไม่
ได้รับการพอกตำารับยาห้าราก กลุ่มทดลอง ได้รับการพอกตำารับยาห้าราก ประกอบด้วย รากคนทา รากชิงชี่ รากเท้า
ยายม่อม รากมะเดื่อชุมพร และรากย่านาง อย่างละเท่ากัน ขนาด 30 กรัม พอกขนาดความกว้าง 10 เซนติเมตร และ
ยาว 15 เซนติเมตร วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น เป็นระยะเวลา 3 วัน ตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับ
ระยะสุดท้ายด้านการแพทย์แผนไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) Visual Analogue Scale 2) และ
แบบสอบถามความพึงพอใจซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตาม
เนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบภายในกลุ่มและ
ระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความปวดของผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายหลังพอกตำารับยาห้าราก บรรเทา
อาการปวดบริเวณตำาแหน่งตับใต้ชายโครงข้างขวาลดลง จากก่อนการพอกยาอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบ
เทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ระดับคะแนนความปวดภายหลังการพอกตำารับยาห้ารากบรรเทาอาการปวดบริเวณ
่
ตำาแหน่งตับใต้ชายโครงข้างขวาของกลุ่มทดลองตำากว่ากลุ่มควบคุมและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ โดยที่
ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการพอกตำารับยาห้ารากบรรเทาอาการปวดบริเวณตำาแหน่งตับใต้ชายโครงข้างขวาอยู่ใน
ระดับมาก ดังนั้นการพอกตำารับยาห้ารากบรรเทาอาการปวดบริเวณตำาแหน่งตับใต้ชายโครงข้างขวาตามแนวทาง
เวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายด้านการแพทย์แผนไทยนี้ เหมาะสมที่จะนำาไปใช้ในการบรรเทา
อาการปวดบริเวณตำาแหน่งตับใต้ชายโครงข้างขวาให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายได้
คำ�สำ�คัญ: ตำารับยาห้าราก, การพอก, แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายด้านการ
แพทย์แผนไทย, ระดับความปวด, ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย
Received date 03/03/18; Revised date 29/10/19; Accepted date 06/02/18
5