Page 47 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 47
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2566 Vol. 21 No. 2 May-August 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล ผลข้างเคียงและคุณภาพชีวิตของยาธาตุ
บรรจบกับยาไซเมทิโคน ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดไม่ทราบสาเหตุ ของสถานี
อนามัยเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดปทุมธานี
วรกานต์ มุกประดับ , ธวัชชัย กมลธรรม †
*,‡
* บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา แขวงดุสิต เขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10300
† วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา แขวงดุสิต เขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10300
‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: jangieworakan@gmail.com
บทคัดย่อ
บทนำ�และวัตถุประสงค์: ในปัจจุบันโรคดีสเปปเซีย เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคระบบทางเดินอาหาร ใน
เวชปฏิบัติปฐมภูมิ จะเป็นผู้ป่วยประเภทไม่ทราบสาเหตุ การศึกษานี้ต้องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล ผลข้างเคียง
และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากการใช้ยาธาตุบรรจบกับยาไซเมทิโคน ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็น
ยาที่มีการสั่งจ่ายเพื่อรักษาอาการท้องอืด โดยหวังว่าผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลสำาคัญที่อาจสนับสนุนให้มีการใช้
ยาธาตุบรรจบในการรักษาอาการท้องอืดต่อไป
วิธีก�รศึกษ�: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดเรื้อรังโดยไม่
ทราบสาเหตุ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับยาธาตุบรรจบ และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับยาไซเมทิโคน ยาทั้งสองชนิด รับ
ประทานครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนอาหาร กลุ่มละ 40 คน เป็นเวลา 7 วัน โดยใช้แบบสอบถามการประเมิน Severity of
Dyspepsia Assessment (SODA) แบบประเมิน Naranjo’s algorithm และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัย
โลกชุดย่อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา คำานวณสถิติพื้นฐาน paired Samples t-test และ independent samples
t-test
ผลก�รศึกษ�: การเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้ยาธาตุบรรจบและยาไซเมทิโคน ในการรักษาผู้ป่วยก่อนและ
หลังรับประทาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยกลุ่มที่ได้รับยาธาตุบรรจบมีค่าการ
ประเมินอาการระหว่างก่อนและหลังรับประทานยาไม่แตกต่างกันไปกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไซเมทิโคน โดยมีค่าเฉลี่ย -5.32
± 3.63 คะแนน และ -7.82 ± 2.89 คะแนน ตามลำาดับ ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาธาตุบรรจบและยาไซเมทิ
โคน คือ หิวบ่อย ร้อยละ 22.5 และ 10 ตามลำาดับ นอนไม่หลับ ร้อยละ 0 และ 10 ตามลำาดับ ผลคะแนนคุณภาพชีวิตโดย
รวมระหว่างก่อนและหลังรับประทานยาทั้งสองกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ย
9.82 ± 3.38 คะแนน และ 8.57 ± 3.30 คะแนน ตามลำาดับ
อภิปร�ยผล: จากผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้ยาธาตุบรรจบและยาไซเมทิโคนในการรักษาผู้ป่วยที่มี
อาการท้องอืดไม่ทราบสาเหตุ ก่อนและหลังรับประทาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.001) การศึกษา
ผลข้างเคียงการใช้ยาธาตุบรรจบพบว่ามีอาการหิวบ่อยและท้องผูก ส่วนการใช้ยาไซเมทิโคนพบว่ามีอาการปวดเมื่อยและ
นอนไม่หลับ โดยผลคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมระหว่างก่อนและหลังรับประทานยาทั้งสองกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ไม่แตก
ต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.001)
Received date 06/10/22; Revised date 02/08/23; Accepted date 07/08/23
263