Page 73 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 73

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 19  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2564        Vol. 19  No. 2  May-August 2021




                                                                                 บทความพิเศษ



            การจัดทำารายการมาตรฐานของตำารับยาแผนไทยตามหลักการจัดลำาดับ

            ความสำาคัญ



            พิศพรรณ วีระยิ่งยง , เกษวราภรณ์ วงษ์พิมพ์, ชวิศา ประดิษฐอุกฤษฎ์, กรรวี กรวิศิษฎ์วาทิน
                            *
            กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลตลาดขวัญ อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
             ผู้รับผิดชอบบทความ: pitsaphun.w@dtam.mail.go.th
            *










                                                 บทคัดย่อ
                    การจัดทำารายการมาตรฐาน (positive list) ของตำารับยาแผนไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้สำาหรับขึ้นทะเบียน
               แบบจดแจ้งตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ได้จัดทำาขึ้นเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2562 โดย
               การเลือกตำารับยาเข้าสู่รายการมาตรฐาน ใช้วิธีการจัดลำาดับความสำาคัญของตำารับยาแผนไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์
               เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การประยุกต์ การจัดลำาดับความสำาคัญในการคัดเลือกตำารับยาแผนไทย ทำาให้การคัดเลือก
               ตำารับยาแผนไทยเป็นการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการ อย่างเป็นระบบและโปร่งใส เริ่มจากการทบทวนหลักเกณฑ์ที่
                                                             ้
               ใช้คัดเลือกที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกเกณฑ์ที่ใช้สำาหรับคัดเลือก กำาหนดนำาหนัก ความสำาคัญและคะแนนของเกณฑ์ต่าง ๆ
               ได้แก่ ประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ และอื่น ๆ เช่น จำานวนสมุนไพรในตำารับ การใช้แก้ไขปัญหา
               ด้านสาธารณสุขของประเทศ และวัตถุดิบที่หาได้ในประเทศ และจากนั้นได้กำาหนดคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก ซึ่ง
               เป็นกระบวนการที่ใช้หลักฐานทางวิชาการและตรวจสอบได้ จากการคัดเลือกตำารับยาแผนไทยพบว่า มีข้อจำากัดของ
               ข้อมูลตามเกณฑ์การคัดเลือกด้านประสิทธิศักย์และความปลอดภัยที่ส่วนใหญ่มาจากหลักฐานการใช้ต่อเนื่องมาอย่าง
               ยาวนานมากกว่าหลักฐานการวิจัย ส่วนข้อมูลการควบคุมคุณภาพพบได้มากเฉพาะข้อมูลของวัตถุดิบ แต่พบได้น้อยใน
               แง่ของข้อมูลตำารับ เนื่องจากข้อจำากัดเรื่องหลักฐานทางวิชาการ การคัดเลือกตำารับยาแผนไทยเข้าสู่รายการมาตรฐาน
               (positive list) อาจปรับจากการคัดเลือกการใช้ข้อมูลวิชาการ มาเป็นการคัดเลือกตำารับยาที่สำาคัญ เพื่อศึกษาวิจัยให้ได้
               มาซึ่งข้อมูลประสิทธิศักย์ ความปลอดภัย และการควบคุมคุณภาพ และควรมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการ
               พิจารณาคัดเลือกตำารับ เพื่อให้ได้ตำารับยาแผนไทยที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และผู้ผลิต
                    คำ�สำ�คัญ:  รายการมาตรฐาน, การจัดลำาดับความสำาคัญ, ตำารับยาแผนไทย














                                                    303
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78