Page 39 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 39
J Thai Trad Alt Med Vol. 19 No. 2 May-Aug 2021 269
[จดหมายฉบับที่ 2]
วันที่ 5 สิงหาคม 2564
เรื่อง รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19
เรียน บรรณาธิการวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน)
ตามที่ข้าพเจ้าได้ส่งจดหมายลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ถึงท่านเพื่อสอบถามและแสดงความเห็นต่อบทความ
เรื่อง รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ในวารสารการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2564 หน้า 229-233 นั้น
ในการนี้ ท่านได้ส่งคำาชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้องและ Manuscript เรื่อง Effects of Andrographis paniculata
in the treatment of early-stage COVID-19: A retrospective cohort study ที่ผู้เกี่ยวข้องส่งไปรับการ
พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Infectious Diseases มาให้ข้าพเจ้านั้น
ข้าพเจ้าขอสอบถามและเสนอความคิดเห็นต่อเนื่องและเพิ่มเติม ดังนี้
1. รายงานผลการวิจัยในผู้ป่วย 309 รายที่ได้รับฟ้าทะลายโจร และผู้ป่วย 526 รายที่ไม่ได้รับฟ้าทะลายโจร
1.1. ข้อเสนอโครงการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการ
วิจัยในคน
ผู้เกี่ยวข้องแจ้งว่า “เดิมในช่วงการระบาดระลอกธันวาคม 2563 กรมได้มีคำาแนะนำาในการใช้ฟ้าทะลายโจรใน
การร่วมรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระดับรุนแรงน้อยและสนับสนุนยาฟ้าทะลายโจรแก่โรงพยาบาลผู้สนใจทั่วประเทศ
และขอความร่วมมือบันทึกข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติม ต่อมาในช่วงมีนาคมถึงเมษายน 2564 จึงมีการรวบรวม
ผลการศึกษาทางวิชาการ และขออนุญาตศึกษาข้อมูลย้อนหลังผ่านเวชระเบียนของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง โดย
ได้รับความยินยอมของแต่ละโรงพยาบาล และคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาจริยธรรมในมนุษย์ในระดับ
สาธารณสุขจังหวัดที่เกี่ยวข้อง สามจังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นครปฐม และราชบุรี’’ แต่ใน Manuscript ระบุ
ว่า “Ethical review: The data presented here were recorded during routine clinical practice. This
study was approved by the Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry
of Public Health, Thailand. All data were de-identified prior to analysis and that the authors had
all necessary administrative permissions to access the data.’’ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อความที่ชี้แจงมา
ก. ข้าพเจ้าขอทราบข้อเสนอโครงการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย (Case Record Form) และเอกสาร
การรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสาธารณสุขจังหวัดที่เกี่ยวข้องสามจังหวัด ได้แก่
สมุทรสาคร นครปฐม และราชบุรี ตามที่ระบุไว้
ข. บทความนี้ระบุไว้ที่หน้า 231 ว่าดำาเนินการใน 9 โรงพยาบาล ข้าพเจ้าอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการ
รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของโรงพยาบาลอื่นอีก 5-6 แห่ง เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องแจ้งว่า “ได้
รับความยินยอมจากคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาจริยธรรมในมนุษย์ในระดับสาธารณสุขจังหวัดที่เกี่ยวข้อง