Page 36 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 36
266 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
ย้อนหลังช่วงธันวาคม 2563-มีนาคม 2564 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากคลัสเตอร์เดียวกันและมีคุณลักษณะ
พื้นฐานเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ที่ได้รับฟ้าทะลายโจร คือผู้ป่วยระดับความรุนแรงน้อยและไม่มีปัจจัยเสี่ยง และใช้วิธี
ทางสถิติคือ Treatment effect Model เพื่อให้สองกลุ่มเปรียบเทียบกันได้ แล้วดูสัดส่วนผลลัพธ์การเกิดปอด
อักเสบระหว่างสองกลุ่มจากเวชระเบียน
1.3.2. บทความนี้ไม่ได้แสดงการเปรียบเทียบลักษณะพื้นฐานและลักษณะของโรคโควิด-19 ของ
ผู้ป่วย 309 ราย และ 526 รายว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือไม่รายงานผลการวิจัยเปรียบเทียบผลการรักษา
ที่ดีต้องแสดงลักษณะของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มก่อนวิเคราะห์ผลเสมอ
ตอบ ในรายงานสังเขปเป็นการวิเคราะห์อย่างหยาบ Crude analysis แต่สำาหรับการศึกษาวิจัยที่อยู่ใน
เสวนาวิชาการเป็น retrospective cohort ซึ่งผ่านการ clean up data และใช้ treatment effect model เพื่อ
ให้สามารถเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มแล้วรายละเอียดอยู่ในบทความตามแนบ
1.3.3. จำานวนผู้ป่วยที่นำามาศึกษาและจำานวนผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วย
หายใจ มีความสับสน กล่าวคือ-รายงานนี้มีจำานวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ
ต่อผู้ป่วยทั้งหมดคือ 3/309 (0.97%) และ 77/526 (14.6%)-ข้อมูลในตารางที่ 1 ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลของโครงการ
นี้ด้วย มีจำานวนผู้ป่วย pneumonia ต่อผู้ป่วยทั้งหมด คือ 2/278 (0.72%) และ 72/310 (23.2%)-ข้อมูลในรูปที่
1 ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลของโครงการนี้ด้วย มีจำานวนผู้ป่วย pneumonia ต่อผู้ป่วยทั้งหมด คือ 1/243 (0.4%) และ
71/296 (24%) ข้อมูลจำานวนผู้ป่วยจาก 3 แหล่งดังกล่าวซึ่งไม่เท่ากันและอัตราการเกิด pneumonia ในกลุ่มที่
ได้รับฟ้าทะลายโจรแปรผัน ตั้งแต่ 14.6% ถึง 24% ซึ่งชี้แนะว่า น่าจะมี selection bias จึงอยากทราบเหตุผล
ของความแตกต่างกันของจำานวนผู้ป่วย pneumonia และจำานวนผู้ป่วยทั้งหมดในข้อมูลทั้ง 3 ชุดดังกล่าวอนึ่ง
รายงานการศึกษาในวารสารนี้ระบุชื่อโรงพยาบาล 9 แห่งไว้ชัดเจน แต่จำานวนและชื่อโรงพยาบาลในรูปที่ 1 มี
ความสับสนว่า เป็นจำานวนผู้ป่วยจากกี่โรงพยาบาล หากพิจารณาข้อมูลจำานวนผู้ป่วยที่เกิด pneumonia และ
ผู้ป่วยทั้งหมดจากรายงานนี้ (3/309 รายที่ได้ฟ้าทะลายโจร และ 77/526 รายที่ไม่ได้ฟ้าทะลายโจร) กับจำานวน
ผู้ป่วยที่เกิด pneumonia และผู้ป่วยทั้งหมดจากรูปที่ 1 (1/243 รายที่ได้ฟ้าทะลายโจรและ 71/296 รายที่ไม่ได้
ฟ้าทะลายโจร) แสดงว่า ข้อมูลอัตราการเกิด pneumonia ในผู้ป่วยในรายงานนี้ที่ไม่อยู่ในรูปที่ 1 คือ (3-1)/
(309-243) = 3% ในกลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรและ (77-71)/(526-296) = 2.6% ในกลุ่มที่ไม่ได้ฟ้าทะลายโจร ซึ่ง
อัตราการเกิด pneumonia ในผู้ป่วยดังกล่าว (3% vs. 2.6%) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติจาก
การวิเคราะห์ด้วย Fisher exact test (p = 0.5 ชนิด 1-tailed และ p = 1 ชนิด 2-tailed)
1.3.4. รายงานนี้ระบุว่า “number needed to treat = 7.32 หมายถึงการให้ฟ้าทะลายโจรใน
ผู้ป่วยโควิด-19 ทุกๆ 8 คนจะสามารถลดการเกิดเป็นภาวะปอดอักเสบได้ 1 คน’’ เป็นข้อความไม่ถูกต้อง
หากต้องการพรรณนาข้อมูล number needed to treat = 7.32 ต้องระบุว่า “การให้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วย
โควิด-19 จำานวน 8 คนจะลดการเกิดเป็นภาวะปอดอักเสบได้เพิ่มขึ้นจากการไม่ได้รับฟ้าทะลายโจร 1 คน’’
ตอบ ขอตอบรวบว่าระยะเวลาในการนำาเสนอข้อมูล และการกำาหนดระยะเวลาของทีมฝั่งให้นำาเสนอ (ในที่
นี้คือ อย.ซึ่งมี อ.วิษณุเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ด้วย) เป็นลำาดับเวลาที่กระชั้นชิดไล่เลี่ยกัน ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดการ