Page 35 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 35

J Thai Trad Alt Med                                   Vol. 19  No. 2  May-Aug  2021  265




            ผู้นิพนธ์ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงเรื่อง รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย
            COVID-19 ฉบับที่ 1 ดังนี้

                 1.  รายงานผลการวิจัยในผู้ป่วย 309 รายที่ได้รับฟ้าทะลายโจรและผู้ป่วย 526 รายที่ไม่ได้รับฟ้าทะลายโจร
                    1.1. โครงการวิจัยมีข้อเสนอโครงการวิจัยและแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการรับรองจากคณะ
            กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนแล้วหรือไม่

                 ตอบ  เดิมในช่วงการระบาดระลอกธันวาคม 2563 กรมได้มีคำาแนะนำาในการใช้ฟ้าทะลายโจรในการร่วม
            รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระดับรุนแรงน้อยและสนับสนุนยาฟ้าทะลายโจรแก่โรงพยาบาลผู้สนใจทั่วประเทศและขอ

            ความร่วมมือบันทึกข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติม ต่อมาในช่วงมีนาคมถึงเมษายน 2564 จึงมีการรวบรวมผลการ
            ศึกษาทางวิชาการ และขออนุญาตศึกษาข้อมูลย้อนหลังผ่านเวชระเบียนของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับ
            ความยินยอมของแต่ละโรงพยาบาล และคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาจริยธรรมในมนุษย์ในระดับสาธารณสุข

            จังหวัดที่เกี่ยวข้อง สามจังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นครปฐม และราชบุรี
                    1.2. รายงานผลการวิจัยนี้ได้รับการทบทวนจากผู้ใด (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ หรือไม่ตาม
            นโยบายการตีพิมพ์บทความของวารสารนี้

                 ตอบ  บทความนี้เป็นการรายงานสังเขปเพื่อให้ทันท่วงทีในการเสนอข้อมูลวิชาการบางส่วนสำาหรับตอบโต้
            สถานการณ์ฉุกเฉิน จึงเป็นความรับผิดชอบหลักของเจ้าของบทความ อนึ่ง ได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นจากทีม
            บรรณาธิการของวารสารแล้ว

                    1.3. ข้อมูลส่วนหนึ่งของผลการวิจัยนี้ได้ถูกนำาเสนอและเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การประชุมวิชาการ
            แบบ online เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 และผลการวิจัยดังกล่าวได้ถูกนำาไปเป็นนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษา

            ผู้ป่วย COVID-19 แล้ว แต่ BBC News (ไทย) https://www.bbc.com/thai/thailand-57451194กล่าวว่า
            “ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเพิ่มฟ้าทะลายโจรในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรคโควิด-19 ใน
            ผู้ป่วยอาการน้อย ท่ามกลางความกังวลของแพทย์แผนปัจจุบันว่า ข้อมูลการวิจัยยังไม่เป็นที่ประจักษ์’’ การ

            พิจารณาผลการวิจัยว่า เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์จำาเป็นต้องทราบระเบียบวิธีวิจัยของการทำาวิจัยและวิธีการ
            วิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยจึงจะทราบได้ว่า ผลการวิจัยถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงาน

            นี้มีจำานวนผู้ป่วยแต่ละกลุ่มต่างกันมาก (309 ราย และ 526 ราย) ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอทราบข้อมูลและเสนอ
            ความเห็น/ข้อสังเกต ดังนี้
                     1.3.1. บทความนี้ไม่มีรายละเอียดของวิธิีการวิจัย เช่น รูปแบบการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย

            การคัดเลือกผู้ป่วย (Inclusion Criteria และ Exclusion Criteria) การคำานวณจำานวนผู้ป่วยที่เหมาะสม
            การพิจารณาว่า ผู้ป่วยรายใดควรได้รับหรือไม่ได้รับฟ้าทะลายโจร นิยามของตัวแปรต่าง ๆ (เช่น pneumonia)
            การปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่ร่วมโครงการแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและการลงข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูล

                 ตอบ  บทความเป็นรายงานสังเขป มิใช่ original article รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในรายงานการศึกษาวิจัย
            ซึ่งขณะนี้กำาลังยื่นตีพิมพ์ในวารสาร international journal of infectious disease ผ่าน peer review อยู่ อธิบาย
            เบื้องต้นคือเป็นการศึกษาเชิงสังเกต ไม่ได้เข้าไปรบกวนการรักษาปกติ ในจุดเวลาเดียวกันในการวิเคราะห์ข้อมูล
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40