Page 37 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 37

J Thai Trad Alt Med                                   Vol. 19  No. 2  May-Aug  2021  267




            ข้อมูล และดำาเนินการศึกษากระบวนการตามหลักวิชาการ จึงขอให้ยืนยันผลตามข้อมูลชุดสุดท้ายจากการเสวนา
            วิชาการ ซึ่งมีการตรวจสอบตามหลักวิจัยเรียบร้อยแล้ว

                    1.3.5. ตารางที่ 1 แสดงว่า ลักษณะบางประการของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน และไม่ได้เปรียบ
            เทียบลักษณะทางคลินิกของโรคและผลการตรวจ (เช่น Chest X-Ray) ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนการรักษา
            ส่วน Respiratory Rate ของผู้ป่วยแทบทุกรายคือ 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ทำาให้ไม่แน่ใจความถูก
            ต้องและความเชื่อถือได้ของข้อมูล

                 ตอบ  ถือเป็นข้อจำากัดสำาหรับการศึกษาแบบสังเกตการณ์ซึ่งใช้ secondary data ครับ
                 2. รายงานผลการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบบทความ เรื่อง รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้า

            ทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ในวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 19
            ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2564 หน้า 229-233 ระบุว่า กรมแพทยแ์ผนไทยดำาเนินการขยายผลการ
            ศึกษาด้วยการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นซึ่งรวบรวมอาสา

            สมัครได้ครบแล้วโดยอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น การประชุมที่จัดโดยกองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรม
            และการบริการ สำานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 มี

            การนำาเสนอวิธีการวิจัยและผลการวิจัยเรื่องการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจร
            ขนาดสูงต่อระยะเวลาการหายจากอาการป่วยในผู้ป่วยโรคโควิด-19: การศึกษาแบบปกปิดสองทางและมีกลุ่ม
            ควบคุม โดยใช้รูปแบบการวิจัยที่ดีมาก คือ Randomized Double-Blinded, Placebo-Controlled Trial

            ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการน้อยโดยมีสมมติฐานหลัก (primary outcome) ว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่
            ได้รับฟ้าทะลายโจร (มี andrographolide > 20 mg/capsule) นาน 5 วัน ทำาให้ระยะเวลาของอาการสั้น
            ลงอย่างน้อย 2 วัน ซึ่งต้องการผู้ป่วยกลุ่มละ 30 คน (ยอมรับ type I error 5% ชนิด 2-sided และ type

            II error 20%)ผลการวิจัยในผู้ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจร (29 คน) และ Placebo (28 คน) พบว่า ลักษณะ
            พื้นฐานของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญ (ยกเว้นค่าเฉลี่ยของ hsCRP ในกลุ่ม Placebo
            มากกว่า กลุ่มฟ้าทะลายโจรโดยมีค่า p = 0.0327) อาการและอาการแสดงทางคลินิก (ได้แก่ ไข้, ไอ, เจ็บ
                           ้
            คอ, มีเสมหะ, มีนำามูก, ปวดกล้ามเนื้อ, หายใจลำาบาก, ปวดศีรษะและถ่ายเหลว) ในวันที่ 5 หลังการรักษา
            มีน้อยกว่าวันแรกอย่างมีนัยสำาคัญในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม แต่อาการและอาการแสดงทางคลินิกดังกล่าวไม่แตก

            ต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับ Placebo และฟ้าทะลายโจรจากการประเมินวันที่ 1, 3 และ 5และผู้นำาเสนอ
            แจ้งว่า ระยะเวลาของอาการในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน พบผู้ป่วย 3 รายในกลุ่ม Placebo และ 0
            รายในกลุ่มฟ้าทะลายโจรเกิด pneumonia (ไม่มีนิยามของ pneumonia และpneumonia ไม่ใช่primary

            outcome ของโครงการนี้) ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวยังไม่มีนัยสำาคัญทางสถิติ (p = 0.1 จากการวิเคราะห์
            ด้วย Fisher exact test ทั้งชนิด 1-tailed และ 2-tailed) อัตราของผลตรวจ RT-PCR เป็นบวกใน

            ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม วันที่ 1 (58.6% vs. 64.2%) และวันที่ 5 (34.4% vs. 57.1%) ก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย
            สำาคัญ ค่าเฉลี่ยของ hsCRP ระหว่างกลุ่มในวันที่ 1, 3 และ 5 มีความแตกต่างกันด้วยค่า p = 0.0874, 0.0108
            และ 0.0138 ตามลำาดับ (ค่าเฉลี่ยของ hsCRP ในกลุ่ม Placebo มากกว่า กลุ่มฟ้าทะลายโจรก่อนเริ่มรักษาอยู่
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42