Page 13 - วารสารปีที่17ฉบับที่1
P. 13

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                        ปีที่ 17  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2562       Vol. 17  No. 1  January-April 2019




                                                                                   นิพนธ์ต้นฉบับ



              คุณภาพชีวิตการทำางานของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

              โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
              สังกัดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข



              ปาริดา บุญนาค
              สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
              ผู้รับผิดชอบบทความ: b_parida@hotmail.com










                                                   บทคัดย่อ

                      การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตการท�างานของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย  และ
                 อธิบายคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวกับการจ้างงานของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
                 การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน  ตัวอย่างเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทย  ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลการ
                 แพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน  จ�านวน  63  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการอภิปราย
                 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการสรุปเนื้อหาส�าคัญ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 58.70
                 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 43 ปี มีรายได้เฉลี่ย 19,000 บาท และร้อยละ 46.03 มีรายได้ 20,001–26,000 บาท โดยมี
                 ลักษณะการจ้างงานแบบส่วนแบ่งตามจ�านวนผู้รับบริการ คุณภาพชีวิตการท�างานของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยโดยรวม
                 อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 66.65 โดยด้านความผูกพันกับหน่วยงาน มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ในขณะที่ด้าน
                 การควบคุมในที่ท�างานมีคะแนนเฉลี่ยต�่าสุด ทั้งนี้พบว่าผู้ช่วยแพทย์แผนไทยมีปัญหาสุขภาพ อาการปวดเกร็งกล้าม
                 เนื้อ บริเวณต้นคอ หัวไหล่รวมถึงบ่าทั้ง 2 ข้าง และปวดหลังส่วนล่าง และมากกว่าร้อยละ 90 มีสวัสดิการด้านการ
                 รักษาพยาบาลในระบบบัตรทอง   จากผลการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีนโยบายก�าหนดเวลาให้ผู้ช่วยแพทย์
                 แผนไทยพัก ก่อนให้บริการนวดผู้รับบริการคนต่อไปอย่างน้อย 5–10 นาที เพื่อพักเปลี่ยนอิริยาบถผ่อนคลายกล้าม
                 เนื้อ  และควรเปิดโอกาสให้ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่าง  ๆ  ของหน่วยงาน  โดย
                 เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตการท�างานต่อไป

                      คำ�สำ�คัญ :  คุณภาพชีวิตการท�างาน,  ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย,  โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
                               ผสมผสาน









              Received date 20/06/18; Revised date 10/10/18; Accepted date 12/10/18

                                                       3
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18