Page 45 - J Trad Med 21-1-2566
P. 45
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566 Vol. 21 No. 1 January-April 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้สมุนไพรย่านางแดงแบบชาชงกับการอบต่อ
ระดับโคลีนเอสเทอเรสในเกษตรกรที่สัมผัสสารกำาจัดศัตรูพืช
อัญชนา ธิกุลวงษ์ , ดวงพร นะคาพันธุ์ชัย
*,‡
†
คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
*
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
†
ผู้รับผิดชอบบทความ: unchana.puii@gmail.com
‡
บทคัดย่อ
ย่านางแดง เป็นสมุนไพรที่นำาไปใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำาวัน และใช้ประกอบการรักษาการเจ็บป่วยที่
หลากหลายในการแพทย์แผนไทย รวมถึงมีสรรพคุณตามตำารับยาไทย ในการล้างพิษออกจากร่างกาย แก้พิษเบื่อเมา
พิษเบื่อเมาของเห็ด ถอนพิษยาเมา แก้เมาสุรา แก้ยาเบื่อ ยาสั่งถอนพิษผิดสำาแดง ในเกษตรกรที่สัมผัสสารกำาจัดศัตรู
พืช เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและชุดทดสอบโคลีนเอสเทอเรส เพื่อสำารวจในผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็น
ชาวนา ตำาบลสนามชัย อำาเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีประวัติสัมผัสสารออร์กาโนฟอสเฟตและสารคาร์บาเมต และ
มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำานวน 92 คน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้รับการคัดเลือก
เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มดื่มชาชง 31 คน (2) กลุ่มอบสมุนไพร 31 คน และ (3) กลุ่มควบคุม 30 คน โดยมีระยะเวลา
ในการใช้สมุนไพรในรูปแบบอบและชงติดต่อกันเป็นเวลา 7 วันวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon math-
paired signed rank test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า หลังใช้สมุนไพรย่านางแดง กลุ่มชาชงมีระดับ
เอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (U = - 4.493, p < 0.001) และกลุ่มชา
ชงยังมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มการอบ อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (U = - 4.737, p < 0.001)
ส่วนกลุ่มที่ใช้สมุนไพรย่านางแดงแบบชาอบมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่า
ระดับเอนไซม์หลังการใช้ยาสมุนไพรกลุ่มชาชง อยู่ในระดับปลอดภัย (≥ 87.5 u/ml.) และระดับปกติ (≥ 100 u/ml.)
ดีขึ้นร้อยละ 77.4
คำ�สำ�คัญ: ย่านางแดง, ชาชง, การอบสมุนไพร, โคลีนเอสเทอเรส, สารกำาจัดศัตรูพืช
Received date 12/09/22; Revised date 24/01/23; Accepted date 28/03/23
25