Page 55 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565
P. 55

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 20  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2565      Vol. 20  No. 2  May-August  2022




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            ผลของยาประสะน้ำานม (ตำารับพ่อขาว เฉียบแหลม) ในหญิงหลังคลอด:

            การทดลองทางคลินิกแบบไม่ปกปิดและมีกลุ่มควบคุม



            สมชาย สุริยะไกร , ศศิวิมล พงษ์สุพจน์ , ดรรชนี ถากง , ปิยภัสรา หรี่อินทร์ , วิไลวรรณ งามยิ่ง ,
                                                         †
                           *
                                            †
                                                                          †
                                                                                          †
            เยาวลักษณ์ ศิลาวรรณ , เกษม ภัทรฤทธิกุล , ศุภชัย ติยวรนันท์ *,§
                               ‡
                                                †
            * คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
            † โรงพยาบาลหนองสองห้อง อำาเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น 40190
            ‡ โรงพยาบาลแวงน้อย อำาเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น 40230
             ผู้รับผิดชอบบทความ:  suptiy@kku.ac.th
            §



                                                 บทคัดย่อ
                    โรงพยาบาลหนองสองห้องได้น�ายาประสะน�้านม “ต�ารับพ่อขาว เฉียบแหลม” มาใช้ร่วมในการดูแลมารดาหลัง
               คลอดทุกรายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างหลักฐานทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลของยาต�ารับนี้ จึงท�าการศึกษาผล
               ของต�ารับยาที่มีต่อค่าคะแนนการมาของน�้านม ปริมาณน�้านมที่ผลิตได้ใน 1 ชั่วโมง ระดับยอดมดลูก และลักษณะน�้า
               คาวปลา เป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุมแบบไม่ปกปิด ในหญิงหลังคลอดที่มารับบริการในโรงพยาบาล
               หนองสองห้อง (กลุ่มทดลอง) และโรงพยาบาลแวงน้อย (กลุ่มควบคุม) โดยกลุ่มทดลองได้รับยาประสะน�้านมปริมาตร
               4 ลิตร/วัน นาน 10 วัน (โดยให้ยาทันทีหลังคลอด) ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับน�้าอุ่นในขนาดเดียวกัน ผลการศึกษาพบ
               ว่าจ�านวนผู้เข้าร่วมวิจัยสะสมที่มีค่าคะแนนการมาของน�้านมถึงระดับคะแนน 4 ในกลุ่มทดลองมากกว่าในกลุ่มควบคุม
               ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 3–36 หลังคลอด มีจ�านวนสะสมในชั่วโมงที่ 36 รวม 24 รายจาก 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.7 ในขณะที่
               กลุ่มควบคุมมีเพียง 13 รายจาก 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.1 (p = 0.009) กลุ่มทดลองมีปริมาณน�้านมที่ผลิตได้ภายใน 1
               ชั่วโมง ในชั่วโมงที่ 48 หลังคลอด (16.48 ± 15.37 มิลลิลิตร) มากกว่า กลุ่มควบคุม (10.06 ± 9.31 มิลลิลิตร) อย่างมีนัย
               ส�าคัญทางสถิติ (p = 0.037) ระดับยอดมดลูกในวันที่ 14 หลังคลอด ของกลุ่มทดลอง (1.50 ± 2.52 เซนติเมตร) ลดลง
               ต�่ากว่ากลุ่มควบคุม (3.97 ± 3.88 เซนติเมตร) (p = 0.003) ในขณะที่ปริมาณและจ�านวนวันที่น�้าคาวปลาเปลี่ยนจากสี
               แดงสดเป็นสีเหลืองของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ ยาต�ารับนี้จึงมีผลท�าให้มารดาหลังคลอด
               มีน�้านมเร็วขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง และท�าให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วกว่าการไม่ได้ใช้ยาแต่ไม่มีผลต่อน�้าคาวปลา

                    ค�ำส�ำคัญ:  สมุนไพร, ยาประสะน�้านม, หญิงหลังคลอด, การให้นมบุตร, ยอดมดลูก, น�้าคาวปลา










            Received date 03/09/21; Revised date 01/03/22; Accepted date 20/06/2022


                                                    253
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60