Page 38 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 38
260 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหญ้าตานคอม้าตามการนำามาใช้ประโยชน์
ทางการแพทย์พื้นบ้าน
วุฒิชัย วิสุทธิพรต *,†,¶ , วนัชวรรณ วิสุทธิพรต , นิพนธ์ แก้วต่าย , เผด็จ ศรีนวลแก้ว §
‡
*
ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย 65130
*
หน่วยวิจัยสมุนไพร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย 65130
†
สถานวิจัยเครื่องสำาอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย 65000
‡
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านควนปอม อำาเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย 93170
§
ผู้รับผิดชอบบทความ: wudtichai@scphpl.ac.th
¶
บทคัดย่อ
หญ้าตานคอม้า [Tadehagi triquetrum (L.) H. Ohashi] เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันมาแต่โบราณเพื่อเป็นสารฆ่า
้
เชื้อจุลชีพซึ่งทำาให้สามารถยืดอายุของผลิตภัณฑ์ที่มีนำาเป็นองค์ประกอบหลักได้ นอกจากนี้การแพทย์พื้นบ้านแนะนำา
ให้ใช้ยาต้มจากใบหญ้าตานคอม้าเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางเพศสำาหรับเพศชาย และตามการ
ใช้ประโยชน์ที่แพทย์พื้นบ้านได้แนะนำาไว้ การศึกษานี้มุ่งที่จะตรวจวัดฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหญ้าตานคอม้า
ที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำาละลายที่มีขั้วแตกต่างกัน สารสกัดกลุ่มที่มีขั้วและไม่มีขั้วที่ได้ถูกนำาไปทดสอบฤทธิ์ทาง
ชีวภาพ ซึ่งได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการประเมินด้วยวิธี DPPH และ ABTS รวมถึงการตรวจวัดฤทธิ์ในการ
ต้านการทำางานของเอ็นไซม์ฟอสโฟไดเอสเทอเรส-5 (PDE-5) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศและทาง
กายของผู้ชาย สำาหรับฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดจะถูกประเมินโดยวิธีดิสค์ดิฟฟิวชั่น และค่าความเข้ม
ข้นที่น้อยที่สุดในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ (MIC) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดที่เตรียมจากแอลกอฮอล์และ
้
้
นำาแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพที่สูง โดยสารสกัดนำาแสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด
(IC50 = 12.45 ± 0.14 µg/mL) ส่วนการเจริญเติบโตของเชื้อ S. aureus, E. coli และ Ps. Aeruginosa สามารถถูกยับยั้ง
ด้วยสารสกัดกลุ่มมีขั้ว ในขณะที่สารสกัดกลุ่มไม่มีขั้วสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี ฤทธิ์ในการยับยั้ง
้
การทำางานของเอ็นไซม์ PDE-5 แสดงผลการยับยั้งที่ 60.45% ± 0.14 ที่ความเข้มข้น 50 µg/mL ของสารสกัดนำา จาก
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าหญ้าตานคอม้ามีฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นตามคำาแนะนำาของแพทย์พื้นบ้านที่ได้ระบุไว้ แต่
อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาในห้องปฏิบัติการรวมถึงการศึกษาทางคลินิกอื่น ๆ เพิ่มเติม
คำาสำาคัญ: ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์ PDE-5, หญ้าตานคอม้า
Introduction & Objectives cold. Ayurveda uses the leaf of T. triquetrum
[5,7]
Tadehagi triquetrum (L.) H. Ohashi has for patients who have intestinal tract disorders
been used as a medicinal plant in several coun- such as dysentery, bloated stomach, and para-
tries in Asia. Chinese medicine has used sites. In Thailand, T. triquetrum is called Ya-
[1-4]
this plant as an anti-viral and anti-inflamma- tarn-kor-ma or Kaow-moa-nok. Folk medicine
tory agent. It is often incorporated into drug practitioners in the northern region of Thailand
[5-6]
recipes for treating sore throat and common use T. triquetrum to support men’s physical