อธิบดีธวัชชัย เผยตลาดเครื่องสำอางไทยวางทั่วโลกปีที่ผ่านมายอดพุ่งกว่า 2 แสนล้าน
อธิบดีกรมแพทย์แผนไทย ฯ ตั้งเป้าพัฒนาสารสกัดสมุนไพรโปรดักซ์แชมป์เปี้ยนผลิตเครื่องสำอาง หวังแทรกตลาด ทั้งในและต่างประเทศช่วยโกยเงินตราเข้าประเทศ หลังพบรายได้จากเครื่องสำอางไทยยอดจำหน่ายพุ่งกว่า 2 แสนล้านทั่วโลก วันที่ 23 ตุลาคม 2556 ดร.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยภายหลังร่วมตรวจเยี่ยมกิจกรรมในงาน OTOP เพื่อสุขภาพ ซึ่งมีกรมพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพจัด ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 เมืองทองธานีว่า ในกลุ่มสมุนไพรสำคัญโปรดักซ์แชมเปี้ยน 5 ชนิด ได้แก่ กระชายดำ กวาวเครือขาว บัวบก ไพล และลูกประคบ เป็นกลุ่มสมุนไพรที่สามารถต่อยอดเชิงธุรกิจได้ เพราะเป็นพืชที่มีในประเทศไทย มีการศึกษาวิจัยรองรับโดยกลุ่มที่ตลาดมีความต้องการสูงคือ ไพล มีการนำไพลใช้ในตำรับยา เช่น ตำรับยาประสะไพล สำหรับสตรีหลังคลอดช่วยขับน้ำคาวปลา ครีมไพล น้ำมันไพลทาบรรเทา อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รองลงมาลูกประคบซึ่งมีส่วนผสมของไพลเป็นหลัก การเติบโตทางธุรกิจของลูกประคบจะควบคู่ไปกับการนวดไทย บัวบกนอกจากสมานแผลเป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางยังช่วยด้านความจำให้ดีขึ้น ดร.นพ.ธวัชชัย กล่าวต่อว่า สำหรับกระชายดำเปรียบเป็นโสมของไทย เหมาะกับกลุ่มผู้ชาย จะช่วยให้ทำงานไม่เหนื่อย เพราะพบว่ากลุ่มชาวเขานิยมเคี้ยวกระชายดำช่วยให้แข็งแรงบำรุงกำลัง ทำงานได้ไม่เหน็ดเหนื่อย ส่วนกวาวเครือขาววิจัยพบสาร ไฟโตรเอสตรเจน(Phytoestrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่ได้จากพืช มีมากกว่าพืชอื่นเป็นพันเท่าเหมาะกับสตรี มีการผลิตเป็น เครื่องสำอางและยามูลค่าสูง ประชาชนสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดได้ที่บูธกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก สามารถปรึกษาเรื่องการ ใช้สมุนไพรให้ถูกวิธี การทำสมุนไพรใช้เองและกระบวนการผลิตสมุนไพรสู่ เส้นทางธุรกิจ ในงาน OTOP เพื่อสุขภาพงานมีถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2556 มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้ได้เลือกใช้ดูแลสุขภาพ รวมถึงคลินิกบริการตรวจโรคด้วยแพทย์แผนไทย ดร.นพ.ธวัชชัย กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างเข้มแข็ง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ฯ มีการบูรณาการ กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดดังกล่าว โดยเฉพาะตลาดเครื่องสำอางที่สามารถสร้างมูลค่ามหาศาล จากข้อมูล ของสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย พบว่าในช่วง 5 ปีอัตราการเติบโตของตลาดเครื่องสำอางสูงขึ้นร้อยละ 18 และในปี 2555 มี ยอดส่งออกเครื่องสำอางไปทั่วโลกมูลค่ากว่า 210,000 ล้านบาท จึงเป็นโอกาสอย่างยิ่งในการพัฒนาให้สารสกัดสมุนไพรผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสร้างรายได้แก่ชุมชนผู้ปลูก ผู้ผลิต รวมถึงการควบคุมมาตรฐานสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะ กวาวเครือขาว บัวบก