Page 4 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ประจำเดือนธันวาคม
P. 4
มะขามป้อม บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
ภญ.สุภาพร ยอดโต, ภญ.ศตพร สมเลศ
มะขามป้อม นับว่าเป็นผลไม้เก่าแก่ ที่มีประวัติการใช้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นผลไม้ที่จัดเป็นโอสถในตัว
พระภิกษุสามารถเก็บไว้ฉันได้แม้ในยามวิกาล และยังเป็นองค์ประกอบของตำรับยาแผนโบราณเก่าแก่ทางการ
แพทย์อายุรเวทของอินเดียที่ชื่อว่า “ตรีผลา” ลดอาการอืดแน่นท้องจากการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ
และอุจจาระ โดยช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาโรคตา โรคผิวหนัง ลดไข้ บรรเทาอาการลิ้นไม่ค่อยรับรู้รสอาหาร
และโรคที่เกี่ยวกับความสมดุลของธาตุ ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย และสามารถใช้รักษาสมดุล
ของธาตุทั้ง 4 ในร่างกายได้อีกด้วย โดยที่ตัวยาทั้ง 3 ชนิด จะช่วยคุมฤทธิ์ของกันและกัน อีกทั้งยังคอยเสริม
สรรพคุณซึ่งกันและกันอีกด้วย เช่น รสเปรี้ยวของลูกสมอพิเภกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ฉะนั้น จึงต้องใช้ลูกสมอไทย
และลูกมะขามป้อม ซึ่งมีรสฝาดและขม เข้าไปช่วยลดการถ่าย และช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องมวน เป็นต้น
มะขามป้อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Phyllanthus emblica L. อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae สามารถ
พบได้ตามป่าเขาทั่วไปในแถบเอเชีย มะขามป้อมมีรสชาติถึง 5 รสด้วยกันคือ เปรี้ยว หวาน เผ็ดร้อน ขม และ ฝาด
อีกทั้งมีการนำเอาส่วนต่าง ๆ ของมะขามป้อมมาใช้เป็นยารักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบ ลำต้น ราก ผล
หรือแม้แต่เปลือกของลำต้น ที่สำคัญ ผลมะขามป้อมยังมีองค์ประกอบทางเคมี ทั้งสารประเภทแทนนิน และ
สารประกอบฟีนอลิก รวมทั้งยังมีวิตามินซีสูงอีกด้วย ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดี มีการวิจัยว่าวิตามินซีที่
ได้จากมะขามป้อมนั้น มีความคงตัว และการดูดซึมได้ดีกว่าวิตามินซีจากการสังเคราะห์ประมาณ 12 เท่า
ฉะนั้นแล้วมะขามป้อมจึงถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดดเด่นกว่าผลไม้ชนิดอื่น และพบว่า
รสเปรี้ยวในมะขามป้อมมีฤทธิ์กัดเสมหะ แก้คอแห้ง แก้กระหายน้ำ บรรเทาหวัด กระตุ้นน้ำลาย แก้เลือดออก
ตามไรฟัน แก้ไอ นอกจากนี้ ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของ
มะขามป้อมอีกมากมาย พบว่า มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการแก้ไอ มีฤทธิ์ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับและไต ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ฤทธิ์ป้องกันเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านมะเร็ง รวมถึงมีฤทธิ์ยับยั้งก่อการกลายพันธุ์
ในประเทศไทย มะขามป้อมจัดเป็นสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติหลายตำรับ ได้แก่
ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน และยาตรีผลา
การศึกษาวิจัยทางคลินิกโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเกี่ยวกับตำรับ “ยาตรีผลา” โดยให้รับประทานยาสมุนไพรดังกล่าวนี้ 1,000 มก./วัน
ติดต่อกัน 1 เดือน พบว่า สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล แอลดีแอล ได้จริง โดยไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง
พบแค่ทำให้มีอาการถ่ายเหลวเล็กน้อย
วิธีการทำยาสมุนไพรใกล้ตัวจากมะขามป้อม เพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ และ
ละลายเสมหะ ซึ่งเหมาะกับช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ มีวิธีง่ายๆ โดยการใช้เนื้อผลสด ครั้งละ
2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย นำมาอมหรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง หรือ ใช้
ผลสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือ ใช้ผลสดจิ้มเกลือรับประทาน หรือ นำผลสด
มาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือ นำผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือนำมา
เคี้ยวอมบ่อย ๆ ก็ได้
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บรรณาธิการ นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บรรณาธิการรอง ดร.เภสัชกรหญิงอัญชลี จูฑะพุทธิ เภสัชกรเชี่ยวชาญรักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน
กองบรรณาธิการ ดร.เภสัชกรหญิงดวงแก้ว ปัญญาภู ภญ.สุภาพร ยอดโต ภญ.ศตพร สมเลศ
ภญ.ภรณ์ทิพย์ จันทร์หอม ภญ.เกษวราภรณ์ วงษ์พิมพ์ ภญ.พิมพรรณ ลาภเจริญ ภญ.สินีพร ดอนนาปี
พท.ป.ประดิษฐา ดวงเดช พท.ป.รสรินทร์ ไพฑูรย์ นายธเนศ อิ่มนุกูลกิจ นายกฤษณะ คตสุข
ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความและดาวน์โหลด กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
จุลสารฉบับอิเลคทรอนิกส์ ได้ที่
https://tpd.dtam.moph.go.th/index. @DTAM
php/news-ak/dtam-news-ak
และสามารถส่งข้อคิดเห็นมาที่ เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ
enewsletters.dtam@outlook.co.th อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 1100
โทรศัพท์ 0-2591-7007 โทรสาร 0-2591-7007