Page 2 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ประจำเดือนธันวาคม
P. 2
ดังนั้นหลักสำคัญของการดูแลสุขภาพในฤดูหนาว ตามศาสตร์การ
แพทย์แผนจีน คือ การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมชาติ โดยการถนอมพลังหยางที่
เก็บซ่อนไว้ ไม่ให้เสียไป นอกจากนี้อวัยวะที่สำคัญที่ต้องดูแลคือไต โดยยึด
หลักปัญจธาตุ (五行) เพราะไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายในและการรักษา
สมดุลของยินหยาง ฤดูหนาวจึงต้องบำรุงไตและหลีกเลี่ยงความเย็น โดยมีข้อ
ปฏิบัติ 8 ข้อ ดังนี้
1. ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ โดยไม่ให้มีเหงื่อออกมากเกินไป
ในฤดูหนาวการออกกำลังกายที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เลือด
และชี่ไหลเวียนได้ดี แต่ไม่ควรออกมากเกินไปจนมีเหงื่ออออกมามาก เพราะ
เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งขัดกับหลักการการถนอม
พลังงานหยาง
2. ดูแลรักษาเท้า เพราะเท้าอยู่ห่างไกลจากหัวใจ เลือดมาเลี้ยงไม่
เพียงพอ ความร้อนน้อย เย็นง่าย และเป็นอวัยวะที่มีจุดและเส้นลมปราณอยู่
เป็นจำนวนมาก ดังนั้น การดูแลเท้าให้อบอุ่นอยู่เสมอมีความสำคัญมาก
นอกจากตอนกลางวันต้องมีการรักษาความอบอุ่นของเท้าแล้ว ในตอนกลาง
คืนมักจะแนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่น และนวดกดจุดเท้าร่วมด้วย เพื่อเพิ่มการ
ไหลเวียนของเลือด และทำให้หลับสบายขึ้น นอกจากนี้ควรเลือกถุงเท้าที่
เหมาะสมเพื่อให้เท้ามีความอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา
3. รักษาความอบอุ่นให้ร่างกายและป้องกันไม่ให้เกิดโรค อากาศ
เย็นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรค หรือทำให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น เช่น โรคไข้หวัด
จากอากาศหนาว โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด stroke รูมาตอยด์ เป็นต้น
4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ แม้ในฤดูหนาวจะมีการขยับเขยื้อนร่างกายน้อย มีเหงื่อออกน้อย การระบายออก
ของน้ำน้อย แต่การดื่มน้ำให้เพียงพอถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จะทำให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ
โดยควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
5. ดูแลรักษาสุขภาพจิต ควรหลีกเลี่ยงเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ ควรรักษาจิตใจให้สงบสุข และสดใสอยู่
เสมอ เช่น การออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอารมณ์ หรือฟังเพลง ออกกำลังกายแบบไทเก็ก หรือ ซี่กง เป็นต้น และ
ควรนอนให้เร็วขึ้น ตื่นช้าลง เพื่อให้ร่างกายและสมองมีการพักผ่อนที่เพียงพอ
6. การระบายอากาศ ช่วงฤดูหนาวคนส่วนใหญ่จะไม่เปิดประตูหน้าต่างเพื่อรับลมหนาว ซึ่งเป็นหลักที่
ผิด ควรจะต้องมีการเปิดหน้าต่างให้มีการระบายของลมและมีอากาศที่สดชื่นมาแทนที่ โดยเลือกเปิดหน้าต่างเพื่อ
ระบายอากาศในช่วงกลางวันที่อากาศไม่เย็นมาก ส่วนในตอนเย็นถึงกลางคืนควรมีการ
เปิดช่องเล็กๆ ไว้เพื่อระบายอากาศเช่นกัน
7. ดื่มชาหรือรับประทานโจ๊กอุ่นๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่เย็นและแข็ง อาหารเย็น
และแข็งจะทำลายหยางชี่ของกระเพาะและม้าม การไหลเวียนของเลือดติดขัด ซึ่งมีผล
ต่อระบบร่างกาย ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
โจ๊กข้าวฟ่าง ลำไย สำหรับชาแนะนำให้ดื่มชาแดงหรือชาที่มีรสหวาน ฤทธิ์อุ่น
8. บำรุงร่างกายอย่างเหมาะสม แบ่งออกเป็น การบำรุงด้วยอาหาร เน้นหล่อเลี้ยงยิน
และเพิ่มความร้อนเพื่อบำรุง หยาง เช่น การรับประทานเนื้อประเภท เนื้อตุ๋น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อไก่ การรับ
ประทานหม้อไฟ ปลานึ่ง เพื่อบำรุงและอบอุ่นร่างกาย การรับประทานธัญพืชที่มีสีดำ เช่น งาดำ ข้าวเหนียวดำ
ถั่วดำ เห็ดหูหนูดำ เป็นต้น เนื่องจากสีดำเป็นสีของไตตามหลักปัญจธาตุ (五行) รวมทั้งการรับประทานผักใบเขียว
เป็นประจำ การใช้เครื่องเทศที่มีฤทธิ์ร้อนในอาหาร เช่น พริก พริกไทย กระเทียม ขมิ้น เป็นต้น และ การใช้
สมุนไพรจีนบำรุง ซึ่งจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมในแต่ละบุคคลโดยควรอยู่ในความดูแลของแพทย์แผนจีน
สมุนไพรที่มักนำมาใช้มักมีสรรพคุณการบำรุงชี่ เลือด ยิน และหยาง ฉบับหน้าจะมานำเสนอเมนูอาหาร และ
สมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการบำรุงสุขภาพในฤดูหนาวต่อค่ะ