Page 1 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ประจำเดือนพฤศจิกายน
P. 1
กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2561 DTAM newsletters
จากประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ
ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2561 ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงขอส่งความห่วงใยไปถึงพี่น้องประชาชนชาวไทย
ทุกท่าน ให้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย
อย่างสม่ำเสมอ และทำร่างกายให้อบอุ่น นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
การดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย และลดในส่วนที่เกิน ซึ่งในฤดูหนาวส่วนที่พร่องคือความ
กล่าวถึงการเจ็บป่วยว่าขึ้นอยู่กับการเสียสมดุลของธาตุนั้น ๆ ร้อนหรือความอบอุ่น และส่วนที่มากเกินคือลมและน้ำ ดังนั้น
การเจ็บป่วยในฤดูหนาว มักเกี่ยวข้องกับการเสียสมดุลของ อาหารที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพ คือ อาหารที่มี
ธาตุน้ำในร่างกาย ซึ่งหลักการทางแพทย์แผนไทยสอดคล้อง รสเผ็ดร้อน และรสเปรี้ยว อาหารรสเผ็ดร้อน เช่น อาหาร ที่มี
กับหลักการดูแลตามศาสตร์อายุรเวทและการแพทย์แผนจีน กระชาย พริกไทย หรือขิง จะสามารถช่วยกระจายลมและ
ที่เชื่อว่าโรคส่วนหนึ่งเกิดจากการเสียสมดุลของธาตุในร่างกาย เพิ่มธาตุไฟ ทำให้ร่างกายมีความอบอุ่น รสเปรี้ยวมีฤทธิ์
(ศาสตร์ทางอายุรเวทเรียกว่าเสียสมดุลของปัญจมหาภูตะ ละลายเสมหะ สามารถลดอาการไอได้ เป็นต้น
หรือในการแพทย์แผนจีนเรียกว่าการเสียสมดุลของหยิน และนอกจากนี้ การออกกำลังกาย เช่น ฤาษีดัดตน
หยาง) ซึ่งการดูแลผู้ที่เสียสมดุล จะเน้นการรับประทานอาหาร ไทเก็ก หรือโยคะ และการดื่มน้ำให้เพียงพอจะสามารถ
สมุนไพรและการออกกำลังกาย เพื่อเติมส่วนที่พร่องหรือขาด รักษาสมดุลของร่างกายไม่ให้เจ็บป่วยง่ายด้วย
หอมแดง...
พืชสมุนไพรต้านหวัด
พอเอ่ยถึงหอมแดง คิดว่าคนไทยทุกคนคงปฏิเสธ
ภญ.ศตพร สมเลศ
ไม่ได้ว่าไม่รู้จัก หอมแดงจัดเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ติดบ้านของคนไทยเรามานาน เราใช้
ส่วนหัวใต้ดิน ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม แก้ไข้ ขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสหวานเค็ม แก้ไข้หวัด และกำเดา คนโบราณใช้หัวหอม ทุบ
ให้แตก ห่อด้วยผ้า วางบนกระหม่อมเด็ก เพื่อช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก หอมแดง (Shallot) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium
ascalonicum L. อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae มีสารไดโพรพิล ไดซัลไฟด์ และไดโพรพิล ไตรซัลไฟด์ เป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมัน
ระเหยง่าย ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Staphylococcus aureus
ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนารูปแบบของยาแผนโบราณให้มีความสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
มีการใช้ “สติ๊กเกอร์หอมแดง” บรรเทาอาการคัดจมูก หลักการคือการใช้สารสกัดในรูปแบบน้ำมันระเหยง่าย และเพื่อให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการใช้ร่วมกับน้ำมันระเหยง่ายอื่นๆ อาทิ น้ำมันยูคาลิปตัส ช่วยให้หายใจสะดวก รู้สึกสดชื่น
น้ำมันลาเวนเดอร์ ช่วยให้ผ่อนคลายและนอนหลับสบาย น้ำมันเปปเปอร์มินต์ ช่วยให้หายใจสะดวก
นวัตกรรมใหม่นี้อยู่ในรูปแบบแผ่นแปะ เพียงแค่แปะติดไว้ที่พัดลม ไอระเหยจะผ่านการสูดดม
ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับผิวหนังของเด็กโดยตรง ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าวิธีการใช้แบบดั้งเดิม
เพราะไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา หรือผิวหนัง ณ บริเวณที่สัมผัส