Page 3 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ประจำเดือนมีนาคม 2562
P. 3

สมุนไพรกับการดูแลสุขภาพในสภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5





                   ภญ.ศตพร สมเลศ, ดร.ภญ.ดวงแก้ว ปัญญาภู

                    Particulate Matters 2.5 หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า PM2.5 เป็นฝุ่น
       ที่ประกอบด้วยก๊าซพิษและโลหะหนัก ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน
       เกิดจากการเผาไหม้ จากยานพาหนะ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงควันพิษ
       จากการสูบบุหรี่ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้มีอนุภาคที่เล็กมาก ดังนั้นจึงสามารถหลุดจากการกรอง
       ของขนจมูกเข้าสู่ถุงลมปอด และจะถูกดูดซึมจากเส้นเลือดฝอยรอบถุงลมปอด
       เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งทําให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน และสามารถ

       ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ และภาวะเครียด ออกซิเดชัน (oxidative stress) ทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น
       โรคหัวใจและหลอดเลือด ภูมิแพ้ มีอาการเลวลง ตลอดจนก่อให้เกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ได้ บทความนี้จึงมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร
       ในการดูแลสุขภาพในสภาวะอากาศฝุ่นพิษ ดังนี้

             สมุนไพรที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าสามารถใช้ป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคทางเดินหายใจในภาวะมลพิษมีหลายชนิด ได้แก่
       หญ้าดอกขาว (Cyanthillium cinereum (L.) H.Rob.) มีการศึกษาที่พบว่าหญ้าดอกขาวสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่
       คั่งค้างในปอดของผู้ที่สูบบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับหญ้าดอกขาว ปัจจุบันหญ้าดอกขาวเป็นสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ผู้ที่มี
       อาการระคายเคืองทางเดินหายใจจากภาวะฝุ่นพิษ สามารถใช้หญ้าดอกขาวในรูปแบบชาชงได้ โดยสามารถดื่มชาหลังอาหารวันละ 3-4 ครั้ง
       ข้อควรระวัง เนื่องจากหญ้าดอกขาวมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต รางจืด (Thunbergia

       laurifolia Lindl.) เป็นสมุนไพรที่โดดเด่นเรื่องการล้างพิษ นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่ารางจืดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดพิษเรื้อรัง
       จากตะกั่วที่มักพบว่ามีการปนเปื้อนมากับไอเสียของรถที่ใช้น้ำมันเบนซินได้ วิธีการรับประทานรางจืดในการแก้พิษ ขนาดที่แนะนำ คือ ครั้งละ
       2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ควรระวัง การใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับหรือไต และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 1 เดือน

       มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) มีการศึกษาพบว่ามะขามป้อมช่วยลดผลกระทบจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยช่วยปรับแร่ธาตุ
       ในร่างกายให้สมดุลหลังได้รับผลกระทบจากก๊าซพิษดังกล่าว นอกจากนี้มะขามป้อมยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดอาการ
       อักเสบ อาการระคายเคือง และบรรเทาอาการไอได้ดี ซึ่งมะขามป้อมสามารถรับประทานได้ทั้งรูปแบบผลสด ผลแห้ง และชาชง บร็อคโคลี่
       (Brassica oleracea L.) มีสารสำคัญ คือ Sulforaphane ที่สามารถกระตุ้นการแสดงออกของยีน Nrf2 ที่อยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน
       ทำให้เพิ่มการขับออกสารก่อมะเร็งที่ปะปนมาในอากาศ ได้แก่ สารพิษจากน้ำมันเบนซินได้


                                                                       นอกจากนี้มีสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน
                                                                 (Curcuma longa L.) และขิง (Zingiber officinale Roscoe.)
        หญ้าดอกขาว                          รางจืด               มีรายงานการศึกษาที่พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์

                                                                 ต้านการอักเสบที่ดี โดยสารเคอร์คิวมินในขมิ้นชัน สามารถ
                                                                 ป้องกันการทำลายเซลล์ระบบทางเดินหายใจ และสามารถ
                           บร็อคโคลี่                            ปกป้องทางเดินหายใจ หัวใจ และหลอดเลือดจากฝุ่นพิษที่เกิด

       จากน้ำมันดีเซลได้ ประชาชนสามารถรับประทานขมิ้นชัน เพื่อดูแลสุขภาพในช่วงที่มีมลพิษทางอากาศได้ โดยขนาดที่แนะนำ
       คือ ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง (ไม่เกิน 9 กรัม/วัน) อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ ในผู้ป่วยที่มีท่อน้ำดีอุดตัน (Cholelithiasis)
       และนิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) สำหรับขิง สามารถรับประทานได้ทั้งขิงสด หรือในรูปแบบชาชงที่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป

             การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นกรดไขมัน
       ชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated fatty acids ; PUFAs) เช่น น้ำมันปลา                           ขมิ้นชัน
       อาหารประเภทถั่ว และรับประทานอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้หลากสี

       ที่อุดมด้วยสารอนุมูลอิสระ วิตามิน B, C, D และ E จะช่วยให้ร่างกาย
       แข็งแรง และควรป้องกัน PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายด้วยการสวมหน้ากาก  น้ำมันปลาและถั่วต่างๆ
       ป้องกันฝุ่น หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้ที่มี

       ภาวะเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด
       หรือโรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ ภูมิแพ้ สตรีให้นมบุตร และสตรีมีครรภ์ เป็นต้น                      มะขามป้อม
   1   2   3   4