Page 3 - จุลสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือน มิถุนายน 2563
P. 3

ห่างไกล ไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรป้องกันยุง

       พท.ป.สุดารัตน์ เกตโล, พท.ป.ภัทธีรา แรงกล้า

                  โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศอาเซียน แต่ละปีพบผู้ป่วย
        ไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย ด้วยสภาพภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
        เหมาะสำหรับการเจริญพันธุ์และแพร่พันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
        จึงกำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเอง
        โดยการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะทุกสัปดาห์เพื่อตัดวงจรการเกิดยุงลาย
                  การป้องกันโรคไข้เลือดออกมีหลายวิธี ปัจจุบันมีการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งจากสารเคมีและจากธรรมชาติหรือ
        สมุนไพรในการ ป้องกันลูกน้ำและยุงลายหลากหลายรูปแบบ เช่น ทำเป็นยาป้องกันกำจัดลูกน้ำ สเปรย์ไล่ยุ่ง ยาจุดกันยุง เทียนหอม
        สติ๊กเกอร์หรือแผ่นแปะกันยุง ธูปหอมกันยุง ซึ่งการใช้สมุนไพรโดยการใช้สารสกัดจากสมุนไพรที่มีกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหย
        (essential หรือ volatile oils) ในการป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่นิยม เนื่องจากไม่สะสมเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลา
        นานและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจึงปลอดภัยต่อผู้ใช้ สำหรับกลุ่มพืชสมุนไพรที่นิยมใช้ป้องกันยุงมี 3 กลุ่ม ดังนี้
                  พืชกลุ่มสกุล Cymbopogon มีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ป้องกันยุงได้หลายชนิดทั้งยุงก้นปล่อง
        ยุงลาย และยุงรำคาญ พืชกลุ่มนี้ ได้แก่ ตะไคร้ชนิดต่าง ๆ
                  ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus (L.) Rendle) น้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) มีส่วน
        ประกอบที่สำคัญคือ citronella, geraniol และ citronellol น้ำมันตะไคร้หอมในรูปแบบของครีมที่มี     ตะไคร้หอม
        ความเข้มข้น 17% สามารถป้องกันยุงลายได้นานประมาณ 3 ชั่วโมง ครีมที่มีน้ำมันตะไคร้หอม 14% ลดจำนวน
        ยุงรำคาญที่มาเกาะภายใน 1 ชั่วโมงหลังทาครีม
                  ตะไคร้ (Cymbopogon citratus (DC.) Stapf) น้ำมันตะไคร้ (lemongrass oil) ใน liquid
        paraffin ความเข้มข้น 20 และ 25% มีผลป้องกันยุงลายได้ 100% ใน 1 ชั่วโมงแรก และลดลงเหลือ
                                                                                                         ตะไคร้
        ประมาณ 95% ภายใน 3 ชั่วโมง
                  พืชกลุ่มสกุล Ocimum การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชกลุ่มนี้ 5 ชนิด ได้แก่ แมงกะแซง
        (O. americanum L.) โหระพา (O. basilicum L.) แมงลัก (O. africanum Lour. ExH) ยี่หร่าหรือโหระพาช้าง (O. gratissimum L.)
        และกะเพรา (O. tenuiflorum L.) พบว่ามีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำและไล่ยุงลายได้ ฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายของน้ำมันหอมระเหย เรียงลำดับดังนี้ โหระพา >
        ยี่หร่า > กะเพรา > แมงลัก = แมงกะแซง สำหรับฤทธิ์ไล่ยุงของน้ำมันหอมระเหยที่ความเข้มข้น 10% พบว่า ยี่หร่ามีฤทธิ์แรง
        ที่สุด ลำดับต่อมาคือ กะเพรา แมงลัก แมงกะแซง และโหระพา โดยป้องกันยุงกัดได้นาน 135, 105, 75, 15 และ 15 นาที ตามลำดับ








                        โหระพา                    แมงลัก                      กะเพรา                      ยี่หร่า
                                        พืชกลุ่มสกุล Citrus มีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ป้องกันยุงได้
                                        มะกรูด (Citrus hystrix DC.) มีรายงานการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีฤทธิ์
                               ป้องกันยุงได้นาน 95 นาที และยาทากันยุงที่มีน้ำมันมะกรูดความเข้มข้น 25% และ 50% สามารถไล่ยุง
                               ได้นาน 30 และ 60 นาที ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยผสมจากมะกรูด 5% และจากดอกโกฐจุฬาลัมพาจีน
                    มะกรูด
                               (ชิงเฮา: Artemisia annua L.) 1% ป้องกันยุงลาย ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญได้นาน 180 นาที
                               ในความเข้มข้นเดียวกันสามารถป้องกันยุงลาย และยุงเสือได้ 180 นาที และยุงรำคาญได้นานถึง 240 นาที
                                        มะนาวฝรั่ง (Citrus limon (L.) Burm.f.) น้ำมันหอมระเหยจากมะนาวฝรั่งมีฤทธิ์ไล่ยุง
                               ก้นปล่องได้ 0.88 เท่าของสารเคมีสังเคราะห์ N,N-diethyl-3-methylbenzamide
                    มะนาวฝรั่ง
                  นอกจากสมุนไพรที่กล่าวมาแล้วยังพบว่ามีสมุนไพร
        อีกหลายชนิดที่มีการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันยุง ได้แก่ ข่า ไพล
        ขึ้นฉ่าย ว่านน้ำ กานพลู หนอนตายหยาก ดอกกระดังงาไทย
        สารไพรีทรัม (pyrethrum) และไพรีทริน (pyrethrins) ที่พบได้ในพืช
        ตระกูลเบญจมาศ (chrysanthemum) ซึ่งสมุนไพรหลายชนิด
        พบและปลูกได้ทั่วไป สามารถปลูกไว้ใช้เองในครัวเรือนหรือ
        นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงในรูปแบบต่าง ๆ ได้                      ผลิตภัณฑ์สมุนไพรกันยุง

              ศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก
   1   2   3   4