Page 4 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ปีที่3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2563
P. 4

ตรีสาร...ตำรับยาสมุนไพรประจำฤดูหนาว




                                                                                           พท. ชนมน  มนต์ธนาภาพร

               ฤดูหนาว เป็นฤดูที่อุณหภูมิจะลดลงต่ำที่สุดในรอบปีและอาจต่ำลงจนถึงอุณหภูมิติดลบเลยทีเดียว โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่
        กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวจึงเป็นช่วงที่ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ
        คนที่มักจะหนาวได้ง่าย เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้เจ็บป่วย แถมยังทำให้ผิวพรรณแห้งแตกอีกด้วย ดังนั้นทุกคนควร
        ใส่ใจและเตรียมตัวดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าให้หนา ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำอุ่นและเครื่องดื่มอุ่น ๆ

        เช่น การดื่มน้ำขิง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาบน้ำอุ่นแทนน้ำเย็น นอกจากวิธีการดูแลสุขภาพดังกล่าวแล้ว ยังสามารถ
        ใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและรักษาอาการเจ็บไข้ในช่วงฤดูหนาวได้ด้วย
                       “ตำราแพทย์แผนโบราณกาลวางหลักไว้ว่า สมุฏฐานที่ทำให้เกิดโรค

                                 มีความสัมพันธ์กับฤดูที่หมุนเวียนไปในปีหนึ่ง ๆ”

               แพทย์แผนไทยจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ตัวยาที่ใช้เจือหรือผสมให้คนไข้กินแก้โรคตามฤดูว่าคนไข้มีอาการป่วยมาในฤดูไหน
        ป่วยเนื่องด้วยสาเหตุอะไร และเมื่อกินยาแก้โรคนั้นแล้วจะต้องให้ยาแก้สมุฏฐานของฤดูกินด้วย เพื่อที่คนไข้หายเร็วขึ้น ซึ่งในช่วงฤดูหนาว
        ร่างกายจะเจ็บป่วยได้ง่ายเพราะธาตุน้ำกำเริบ หากร่างกายถูกน้ำค้าง หมอก และอากาศเย็น อาจทำให้เป็นหวัด ไอ และ
        มีเสมหะได้ (จัดว่าเป็นสมุฏฐานเสมหะ) ดังนั้นเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองในฤดูหนาว จึงต้องใช้ยาสมุนไพรที่แก้สมุฏฐานของฤดูหนาว
        นั่นก็คือ พิกัดยาตรีสาร ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรที่มีรสร้อน 3 ชนิด ดังนี้












                                                       เถาสะค้าน
                    รากเจตมูลเพลิง                  รสร้อน แก้ลมอันเกิดแก่
                  รสร้อน ช่วยกระจายเลือดลม             กองธาตุพิการ                      รากช้าพลู
                แก้จตุกาลเตโชฆ่าพยาธิ คุดทะราด                                        รสร้อน แก้คูถเสมหะ
                    แก้ริดสีดวง บำรุงธาตุ                                                   แก้ลม


               ตรีสาร เหมาะสำหรับใช้ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นยาที่เพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย และมีสรรพคุณกระจาย
        เลือดลม ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวง บำรุงธาตุ และแก้ลมอันเกิดแก่กองธาตุพิการ วิธีเตรียมคือ นำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน
        ไปต้มกับน้ำเปล่า และนำน้ำสมุนไพรที่ได้มารับประทานมื้อละ 3-5 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร หรือสามารถนำมาต้มเป็น
        เครื่องดื่มสมุนไพรได้เช่นกัน
               ฤดูหนาวนี้เรื่องของสุขภาพนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  ผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดีตลอดช่วงฤดูหนาว  ควรปฏิบัติตัว
        เพื่อการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้ฤดูหนาวนี้เป็นฤดูแห่งความสดใส และต้อนรับเทศกาลปีใหม่ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง

          คณะผู้จัดทำ

       ที่ปรึกษา      นายแพทย์มรุต         จิรเศรษฐสิริ         อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
       บรรณาธิการ    นายแพทย์สรรพงศ์       ฤทธิรักษา            รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
       บรรณาธิการรอง ดร.เภสัชกรหญิงอัญชลี   จูฑะพุทธิ           ที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
       กองบรรณาธิการ  ดร.เภสัชกรหญิงดวงแก้ว   ปัญญาภู                ภญ.สุภาพร ยอดโต        ภญ.เกษวราภรณ์ วงษ์พิมพ์

                               นส.สุพินดา กิจทวี           นายกฤษณะ คตสุข         ภญ.พิมพรรณ ลาภเจริญ    ภญ.ศตพร สมเลศ
                                พท.สุนิสา หลีหมุด     พทป.ประดิษฐา  ดวงเดช    นายยศวริส เสธา          กลุ่มงานสื่อสารองค์กร

                     ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความและดาวน์โหลด                                กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                     จุลสารฉบับอิเลคทรอนิกส์ ได้ที่
                     https://tpd.dtam.moph.go.th/index.                                @DTAM
                     php/news-ak/dtam-news-ak
                     และสามารถส่งข้อคิดเห็นมาที่                                  เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ
                     enewsletters.dtam@outlook.co.th                              อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
                                                                                  โทรศัพท์ 0-2591-7007 โทรสาร 0-2591-7007
   1   2   3   4