Page 4 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
P. 4
มาทำความรู้จักกับ
“ฝังเข็ม” กันเถอะ
พจ.จันทรรัตน์ เสนีวงศ์
ฝังเข็มคือ การแทงเข็มที่มีขนาด 0.18 - 0.30 มม.
ลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกาย
การฝังเข็มเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยการแทงเข็มไปลึกถึง
ตำแหน่งจุดตามเส้นลมปราณ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หน่วง ๆ หรือร้าวไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ การฝังเข็มจะคาเข็มไว้
ประมาณ 30 นาที ซึ่งบางรายอาจมีการติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า หรือทำเข็มอุ่นร่วมด้วย หลังจากนั้นดึงเข็มออก
ฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?
ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนใช้วิธีการฝังเข็มรักษาโรคและอาการของโรคหลายโรค ดังเช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง
ปวดเส้นประสาทบนใบหน้า โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก เจ็บ ปวด ตึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณต่าง ๆ ชาหรือปวดจากเส้นประสาทเสื่อมหรือ
ถูกกดทับ ปวดศีรษะไมเกรน นอนไม่หลับ เครียด ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ท้องผูก ท้องอืด หอบหืด ภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ อ่อนเพลียง่าย
หรือรู้สึกแขนขาหนัก โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน รู้สึกเหมือนมีสิ่งติดอยู่ที่ลำคอตลอดเวลา วัยทอง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ภาวะมีบุตรยากทั้งชายและหญิง ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ลดความอ้วน กระชับกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น ต้นแขน ต้นขา
รักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ เส้นเลือดขอด ปรับสมดุล บำรุงสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายหลังเจ็บป่วยหรือผ่าตัด
เข็มที่ใช้ฝังเป็นอย่างไร ?
เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตัน ปลายตัด ไม่มีสารหรือยาชนิดใด
เคลือบเข็มอยู่ เข็มที่ใช้ จะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด
ข้อควรทราบก่อนฝังเข็ม
1. รับประทานอาหารตามปกติก่อนฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในขณะอ่อนเพลีย
หรือท้องว่าง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
2. สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงที่สามารถรูดขึ้นเหนือเข่าได้สะดวก
ขณะฝังเข็ม
1. การอยู่ในลักษณะผ่อนคลายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบลมปราณและปรับสมดุลร่างกาย
2. ถ้ามีความรู้สึกผิดปกติ เช่น หน้ามืด เป็นลม ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
หลังการฝังเข็ม
1. หลังการฝังเข็มไม่ควรอาบน้ำโดยทันที ควรทิ้งระยะห่างจากการฝังเข็มประมาณ 3 ชั่วโมง
2. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะทันทีหลังการฝังเข็ม เพราะอาจเกิดการง่วงนอน
รักษาติดต่อนานเท่าไหร่ ?
ควรรับการรักษาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ครั้ง (แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์)
โดยส่วนมากโรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บรรณาธิการ นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บรรณาธิการรอง ดร.เภสัชกรหญิงอัญชลี จูฑะพุทธิ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน
กองบรรณาธิการ ดร.เภสัชกรหญิงดวงแก้ว ปัญญาภู ภญ.สุภาพร ยอดโต ภญ.ศตพร สมเลศ
ภญ.ภรณ์ทิพย์ จันทร์หอม ภญ.เกษวราภรณ์ วงษ์พิมพ์ นางสาวพินท์สุดา เพชรประสม นางอลิศรา พลับสกุล
พท.ป.ประดิษฐา ดวงเดช พท.ป.รสรินทร์ ไพฑูรย์ นายธเนศ อิ่มนุกูลกิจ นายกฤษณะ คตสุข
ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความและดาวน์โหลด กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
จุลสารฉบับอิเลคทรอนิกส์ ได้ที่
https://tpd.dtam.moph.go.th/index. @DTAM
php/news-ak/dtam-news-ak
และสามารถส่งข้อคิดเห็นมาที่ เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ
enewsletters.dtam@outlook.co.th อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2591-7007 โทรสาร 0-2591-7007