Page 1 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
P. 1
กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2562 DTAM newsletters
วันตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ของประชาชนเชื้อสายจีน ในปีนี้
ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ถือเป็นวันที่สำคัญของพี่น้องชาวจีนและชาวไทย
เชื้อสายจีน จีนและไทยต่างเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
มีการไปมาหาสู่กันฉันมิตรกว่า 2,000 ปี จึงมีความคล้ายคลึงกัน
ทางวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์และใกล้ชิดกันทางสายเลือด
ดังคำกล่าวที่ว่า “จีน ไทย ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ปัจจุบันชาวไทย
เชื้อสายจีนมีจำนวนประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมี
อีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เนื่องจากผสมอย่างกลมกลืนไปกับคนไทย
การแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์ทางเลือกที่อยู่คู่กับประเทศไทยและการแพทย์แผนไทย
มาช้านาน ดังปรากฏหลักฐานความคล้ายคลึงกันระหว่างการแพทย์ล้านนาและการแพทย์แผนไต
ซึ่งเป็นการแพทย์พื้นบ้านของชนเผ่าไตในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน รวมถึงปรากฏ
ตำรับยาจีนในคัมภีร์พระโอสถพระนารายณ์ที่เป็นการรวบรวมตำรับยาที่ใช้ในวังหลวงของ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งปัจจุบันการแพทย์แผนจีนได้รับการยอมรับแพร่หลายและ
ถือเป็นหนึ่งในการประกอบโรคศิลปะ รวมถึงมีโรงพยาบาลที่ให้การรักษาและสถาบันอุดมศึกษาที่ นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ
เปิดการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนจีนหลายแห่งในประเทศไทย อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ในฐานะอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่มีหน้าที่กำกับ ดูแล ส่งเสริมด้านการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก ขออวยพรเนื่องในวันตรุษจีน ขอให้พี่น้องชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีนทุกท่าน
“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” ปีใหม่นี้คิดหวังสิ่งใดขอให้สมปรารถนา มีความสุข มั่งคั่ง ร่ำรวย โชคดีตลอดปีและตลอดไป ครับ
การเฝ้าระวังกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภญ.สินีพร ดอนนาปี, พจ.วรรณวิมล เชี่ยวเชิงชล
วันตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ของประชาชนเชื้อสายจีน ถือเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่ง โดยในวันนี้จะมีการพบปะรวมตัวกันของ
ครอบครัวเพื่อนพ้องน้องพี่จากทั่วสารทิศเพื่อมาฉลองวันปีใหม่ร่วมกัน และที่ขาดไม่ได้ คือ การกินเลี้ยงด้วยอาหารมากมายโดยเฉพาะ
อาหารมัน ๆ รสจัด การดื่มสุรา การมีอารมณ์ดีใจจนเกินไป (ซึ่งศาสตร์การแพทย์แผนจีนถือว่า การแสดงอารมณ์ที่มากเกินไป เช่น อาการดีใจ
หรือเสียใจมากเกินไป จะมีผลกระทบต่อหัวใจ ส่งผลทำให้จิตใจไม่สงบ ชี่ของหัวใจแตกซ่านกระจาย) การนั่งอยู่กับที่นาน ๆ รวมทั้งการพักผ่อน
ที่ไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้ร่างกายเสียสมดุล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเกิดโรคและส่งผลต่อพยาธิสภาพ
ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases ; NCDs) ต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานหรืออาการปวดต่าง ๆ เป็นต้น
ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีทฤษฎีการดูแลสุขภาพ คือ การเน้นกักเก็บเจิ้งชี่ (正气) หรือชี่ที่ทำให้ร่างกาย
ปกติหรือภูมิคุ้มกันไว้ภายใน และไม่รับเสียชี่ (邪气) หรือชี่ที่ทำให้ก่อเกิดโรคจากภายนอกเข้ามา รวมถึงต้องรักษา
สมดุลของยิน-หยาง จึงจะมีร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เสียสมดุลจนก่อเกิดโรค มีสี่ปัจจัยดังนี้ คือ ร่างกาย จิตใจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้หลักการป้องกันและรักษาจะเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ในการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การควบคุมอารมณ์ การพักผ่อน การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
เช่น การฝึกชี่กง และการใช้ยาสมุนไพรในการปรับสมดุล