Page 2 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ปีที่2 ฉบับที่ 14 ประจำเดือนธันวาคม 2562
P. 2
“การนวดไทย....สู่มรดกโลก”
กฤษณะ คตสุข , ธนดล มางาม
การนวดไทย เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์การดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชน การถ่ายทอด
องค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีระยะเวลานานจนกลายเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาติไทยและมีการใช้มาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี ผ่านการ
ลองผิดลองถูกและตกผลึกเป็นหลักการจนมีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยมีการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสุขภาพตามวัฒนธรรมของสังคมไทย
ที่ใช้มือหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการปรับพลังและโครงสร้างของร่างกาย เพื่อบำบัดความเจ็บป่วยที่เกิดจากลมในเส้นติดขัดและ
ทำให้ธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ให้เป็นปกติ ศาสตร์ของการนวดไทยนั้นถือว่าร่างกายมนุษย์มีเส้นเป็นเครือข่าย
ร่างแหเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีจำนวน 72,000 เส้น โดยมีเส้นหลักอยู่ 10 เส้น เรียกว่า เส้นประธานสิบ ซึ่งใช้เป็นหลักในการ
ตรวจวินิจฉัยและบำบัด โดยใช้การกด คลึง บีบ จับ ทุบ สับ ดัด ดึง ด้วยมือหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า เท้า ใช้อุปกรณ์การนวด
ตนเองที่ประดิษฐ์ขึ้น ใช้ลูกประคบสมุนไพร เพื่อลดการอักเสบและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งใช้จิตวิทยาในการปลุกปลอบให้กำลังใจ
ด้วยความกรุณา
การนวดแบบราชสำนัก การนวดแบบเชลยศักดิ์
(ที่มาของภาพ : https://m.se-ed.com/Product/Productlmage/ ( ที่มาของภาพ : https:// sites.google.com/site/khorngkarwdphaenthiy/)
9786169157960#1)
การนวดไทยแบ่งเป็น 2 แบบคือ การนวดแบบราชสำนัก และการนวดแบบเชลยศักดิ์ (แบบทั่วไป) การนวดแบบราชสำนัก
่
เป็นการนวดเพื่อถวายกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของราชสำนัก ผู้นวดจะต้องเดินเข่าเข้าหาผู้ปวยที่นอนอยู่บนพื้น แล้วจึงนั่งพับเพียบและ
่
คารวะขออภัยผู้ป่วย ผู้นวดต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ไม่หายใจรดผู้ปวย ไม่เงยหน้า ใช้เฉพาะมือ คือนิ้วหัวแม่มือ ปลายนิ้วและอุ้งมือในการ
นวดเท่านั้น แขนต้องเหยียดตรง โดยเริ่มนวดตั้งแต่ใต้เข่า ลงมาข้อเท้าหรือจากต้นขาลงมาถึงข้อเท้า ผู้นวดเน้นให้เกิดผลต่ออวัยวะและ
เนื้อเยื่อ โดยยึดหลักกายวิภาค การนวดแบบเชลยศักดิ์หรือการนวดแบบทั่วไป เป็นการนวดแบบสามัญชน มีการสืบทอดฝึกฝนแบบแผน
การนวดตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเหมาะสำหรับชาวบ้านนวดกันเอง ใช้สองมือและอวัยวะส่วนอื่นโดยไม่ต้องใช้ยา เป็นการนวดบริเวณ
กล้ามเนื้อและข้อศอกต่าง ๆ ของร่างกาย รู้จักกันทั่วไปว่า “จับเส้น” เพื่อให้เลือดลมเดินได้สะดวกขึ้น ซึ่งตรงกับแพทย์แผนปัจจุบันคือ
การนวดเพื่อเพิ่มหรือส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง ผู้นวดมีความเป็นกันเองกับผู้ป่วย โดยเริ่มนวดที่ฝ่าเท้า ใช้อวัยวะทุก
ส่วนเช่น มือ เข่า ศอก ในการนวด โดยเน้นผลที่เกิดจากการกดและนวดคลึงตามจุดต่าง ๆ ประโยชน์ของการนวด คือ เพื่อลดการ
เกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มระบบไหลเวียนโลหิต เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อและระบบ
ไหลเวียนโลหิต
การเสนอ “นวดไทย” สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2554
กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียน “นวดไทย” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2559
คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอให้ขึ้นทะเบียนนวดไทยในฐานะรายการ
ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก และ ปี พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวง
วัฒนธรรมนำเสนอนวดไทย ขึ้นบัญชีรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก จนกระทั่ง
ปี พ.ศ. 2562 การนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาจากคณะกรรมการว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 14
ระหว่างวันที่ 9 -14 ธันวาคม 2562 ณ เมืองโบโกตา สาธารณรัฐโคลอมเบีย
“การนวดไทยเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นไทย มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
โดยการส่งเสริมภูมิปัญญาการนวดไทย ให้คงอยู่และเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของโลกสืบไป”