Page 4 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ปีที่2 ฉบับที่ 13 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562
P. 4
ไพล : สมุนไพรร่วมสมัย สร้างเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าสินค้าไทย
ดร.ภญ.ดวงแก้ว ปัญญาภู
ไพล (Zingiber cassumunar Roxb.) เป็นสมุนไพรร่วมสมัย มีการใช้ประโยชน์
ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านมาช้านาน โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของยา นวด อบ
ประคบ ในผู้ที่มีอาการปวดเมื่อย และใช้เป็นสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ปัจจุบัน ไพลจัดเป็น
champion product เนื่องจากเป็นที่นิยมและมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สามารถทำผลิตภัณฑ์ได้
หลากหลาย มีความน่าเชื่อถือด้วยความมีเอกลักษณ์ และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการศึกษาวิจัยรองรับ
ยาประสะไพล เป็นตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ และเป็นตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยสูตรตำรับ
ประกอบด้วยสมุนไพร 10 ชนิดและแร่ธาตุอีก 2 ชนิด ได้แก่ เหง้าไพล หนัก 81 ส่วน ผิวมะกรูด หัวว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย
เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน การบูร หนัก 1 ส่วน รูปแบบของยาประสะไพลในบัญชียาหลักฯ มีทั้งชนิดผง แคปซูล เม็ด และชนิดลูกกลอน
มีข้อบ่งใช้เพื่อบรรเทาอาการระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร
น้ำมันไพล/ครีมไพล ปัจจุบัน ไพลถูกนำมาแปรรูปและสกัดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ น้ำมันไพล ครีมไพล ยาหม่องไพล และ
ลูกประคบ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ปัจจุบันมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในธุรกิจสปา และธุรกิจยา ไพลมีน้ำมันระเหยง่ายที่ประกอบด้วยสารสำคัญ
อาทิ terpinen-4-ol, sabinene และสารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ หลายชนิด เช่น สาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) ที่มีฤทธิ์
ลดการอักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดี ลูกประคบซึ่งมีไพลเป็นส่วนประกอบสำคัญและมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ กำลังเป็นสินค้า
ที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดในประเทศ ญี่ปุ่น อเมริกา กลุ่มประเทศอาหรับ และตลาดอินโดจีน
ไพลแคปซูลรักษาภูมิแพ้ เมื่อไม่นานมานี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม ได้พัฒนายาลดอาการภูมิแพ้และหอบหืดจากสารสกัดไพล เนื่องจากการศึกษา ไพล
เบื้องต้น พบว่า สารสกัดไพลสามารถลดอาการคัดจมูก ไอ จาม คันตา และผื่นแพ้ที่ผิวหนังได้ดี ปัจจุบันกำลังเร่ง สมุนไพรไทยมากคุณค่า
ศึกษาวิจัยทางคลินิก ระยะที่ 3 เพื่อผลักดันยาดังกล่าวนี้เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อให้คนไทย
ได้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยต่อไป มาช่วยกันใช้
ยาไทยกันเถอะ
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บรรณาธิการ นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บรรณาธิการรอง ดร.เภสัชกรหญิงอัญชลี จูฑะพุทธิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กองบรรณาธิการ ดร.เภสัชกรหญิงดวงแก้ว ปัญญาภู ภญ.สุภาพร ยอดโต ภญ.เกษวราภรณ์ วงษ์พิมพ์
นส.สุพินดา กิจทวี นายกฤษณะ คตสุข ภญ.นิตาภา อินชัย ภญ.ศตพร สมเลศ
พท.สุนิสา หลีหมุด พทป.ประดิษฐา ดวงเดช นายยศวริส เสธา กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทความและดาวน์โหลด
จุลสารฉบับอิเลคทรอนิกส์ ได้ที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://tpd.dtam.moph.go.th/index. @DTAM
php/news-ak/dtam-news-ak
และสามารถส่งข้อคิดเห็นมาที่ เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ
enewsletters.dtam@outlook.co.th อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2591-7007 โทรสาร 0-2591-7007