Page 52 - วารสารปีที่17ฉบับที่1
P. 52
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562 Vol. 17 No. 1 January-April 2019
นิพนธ์ต้นฉบับ
ปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการดูแลรักษาความเจ็บป่วย
ของสมาชิกในครัวเรือน อำาเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
สังคม ศุภรัตนกุล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
ผู้รับผิดชอบบทความ: sungkom1962@gmail.com
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการดูแลรักษาความเจ็บ
ป่วยของสมาชิกในครัวเรือน ปัจจัยทางสังคมประกอบด้วยปัจจัยนำาได้แก่ ความรู้และการรับรู้ด้านสุขภาพของคนใน
ครัวเรือน ปัจจัยเอื้อได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงหน่วยบริการสุขภาพ และช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้าน
สุขภาพของผู้ดูแลคนในครัวเรือน และปัจจัยเสริมได้แก่ แรงสนับสนุนที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของคนในครัว
เรือน เก็บข้อมูลจากผู้แทนครัวเรือนหรือแกนนำาสุขภาพในครัวเรือน จำานวน 380 ตัวอย่าง ด้วยแบบสอบถามที่ผ่าน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือแล้ว ในอำาเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ของเพียร์สันและสมการความสัมพันธ์โครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ทั้งปัจจัยนำาได้แก่ ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ปัจจัย
เอื้อได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ปัจจัยเสริมได้แก่ แรง
สนับสนุนในการดูแลสุขภาพจากบุคคลในครัวเรือนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับการเลือกรูปแบบการ
ดูแลรักษาความเจ็บป่วยด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ภูมิปัญญาพื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก โดยมีปัจจัยนำาเกี่ยวกับการรับ
รู้ในการดูแลสุขภาพเข้ามามีความสัมพันธ์ด้วยในการดูแลรักษาความเจ็บป่วยด้วยการแพทย์ทางเลือก ในขณะที่ปัจจัย
ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเลือกรูปแบบการดูแลรักษาความเจ็บป่วยคือปัจจัยเสริมได้แก่ แรงสนับสนุนจากสมาชิกใน
ครัวเรือนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งปัจจัยเสริมดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางตรงมาจากปัจจัยนำาได้แก่ ความรู้ในการ
ดูแลสุขภาพ และปัจจัยเอื้อได้แก่ การเข้าถึงบริการสุขภาพอีกครั้งหนึ่ง โดยส่งผ่านปัจจัยเสริมที่คอยสนับสนุนในการ
เลือกรูปแบบการดูแลรักษาความเจ็บป่วยของครัวเรือน ปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถพยากรณ์การเลือกรูปแบบการดูแล
รักษาความเจ็บป่วยของสมาชิกในครัวเรือน ได้มากกว่าร้อยละ 99.0
คำ�สำ�คัญ : รูปแบบการรักษา, แพทย์แผนปัจจุบัน, แพทย์ทางเลือก, แพทย์แผนไทย, ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
Received date 28/03/18; Revised date 21/11/18; Accepted date 07/02/19
42