Page 3 - จุลสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือน พฤษภาคม 2563
P. 3

เห็ด                    ทางเลือกในการดูแลสุขภาพ







                                                         เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน



                                                                                 ภญ.พิมพรรณ  ลาภเจริญ




                  เห็ด ถือเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่าย มีรสชาติดี และมีคุณประโยชน์มากมาย เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในเห็ดมีสาร
        ออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ ไกลโคโปรตีน โพลีแซคคาไรด์  และไตรเทอร์พีนอยด์ มีการศึกษาวิจัย พบว่า เห็ดมีประโยชน์

        ทางการแพทย์ มีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส ช่วยการทำงาน
        ของหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงอาจมีส่วนในการลดความเสี่ยงหรือรักษาโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้เห็ดแต่ละชนิดยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัว
        ขอยกตัวอย่างเห็ดที่พบว่ามีการกล่าวถึงประโยชน์ทางการแพทย์ที่แนะนำให้รับประทาน 3 ชนิด ดังนี้




                  เห็ดหอม (Lentinus edodes (Berk.) Sing.) หรือเห็ดซิตาเกะ เป็นเห็ดที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีฤทธิ์เสริมสร้างภูมิ
        ต้านทานแก่ร่างกาย จากงานวิจัยในปี 2015 ของ Xiaoshuang Dai และคณะ ในคนที่มีสุขภาพดี อายุ 21-40 ปี พบว่า การรับประทาน
        เห็ดหอม ขนาด 5 กรัม หรือ 10 กรัม เป็นประจำทุกวัน ต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ ส่งผลเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
        โดยมีการเพิ่มขึ้นของ immunoglobulin A และสารที่มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้

        การรับประทานเห็ดหอมยังส่งผลลดระดับสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของร่างกายอีกด้วย เนื่องจากในเห็ดหอม
        มีสารที่มีฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกัน เช่น สารกลุ่มเบต้ากลูแคน (β-glucan) และ ergothioneine ซึ่งเป็นสารที่ร่างกาย
        ไม่สามารถสร้างเองได้ มีบทบาทต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เป็นต้น




                                                เห็ดเข็มทอง (Flammulina velutipes) เป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
                                       และสามารถเพาะปลูกได้ในประเทศไทย มีรายงานถึงสรรพคุณของเห็ดเข็มทองไว้หลาย
                                       ประการ เช่น กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (กระตุ้น IL-2, IL-4, IFN-γ,TNF-α, LT และ IL-2R)
                                       ในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระเนื่องจากในเห็ดเข็มทองมี
                                       exopolysaccharides, phenols, น้ำตาล rhamnose, vitamin C และ nucleotides เป็นต้น
                                       มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส ลดระดับไขมัน และโคเรสเตอรอล ได้ในสัตว์ทดลอง





                  เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.) เป็นยาอายุวัฒนะ พบอยู่ใน
        เภสัชตำรับของประเทศจีนและมีการใช้มายาวนานกว่า 4,000 ปี มีประสิทธิผลในการปรับ/        ควรระวังการรับประทาน
        เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย รายงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลอง      เห็ดในผู้ที่มีประวัติการแพ้เห็ด
        พบว่า สารสำคัญในเห็ดหลินจือเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดขาว T cell และ B cell,   หรือสปอร์เห็ด และไม่ควร

        splenic mononuclear cells, NK cells และ dendritic cells และในปี 2005 โดย Gao Y และ   รับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก
        คณะ  ศึกษาผลจากการรับประทานส่วนที่ละลายน้ำของเห็ดหลินจือ  (water-soluble          และเห็ดที่ยังไม่เคยนำมารับประทาน
        polysaccharides) 5.4 กรัมต่อวัน นาน 12 สัปดาห์                                            เป็นอาหาร

        ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม (advanced lung cancer)
        จำนวน 30 คน ซึ่งผู้วิจัย พบว่า การรับประทานเห็ดหลินจือ
        ช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันใน
        ร่างกาย และเห็ดหลินจือน่าจะช่วยปรับภูมิคุ้มกัน
        ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสีได้
   1   2   3   4