Page 2 - จุลสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่3 ฉบับที่ 5 ประจำเดือน พฤษภาคม 2563
P. 2
สมุนไพรจีน
่
ชวยบำรุงปอด
ที่มีในประเทศไทย
พจ. วรรณวิมล เชี่ยวเชิงชล, ภญ. สินีพร ดอนนาปี
ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ปอดเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมชี่ (ลมปราณ)
ทั่วร่างกายให้สมดุล ผ่านการหายใจเข้า-ออก ควบคุมการกระจายชี่ การไหลเวียนของน้ำและเลือด
ในร่างกาย และช่วยควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างสมดุล โดยหากปอดพร่องหรืออ่อนแอ
เนื่องจากอาการป่วยเรื้อรัง ทำงานหนักมากเกินไป หรือมีความร้อนจากภายนอกทำร้ายปอด
มักพบอาการแสดงต่าง ๆ เช่น ไอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจสั้น แน่นหน้าอก
ปอดพร่อง สามารถแบ่งประเภทได้ตามกลุ่มอาการซึ่งอาศัยหลักการวินิจฉัยพื้นฐานทางการแพทย์แผนจีน
ที่เรียกว่า “เปี้ยนเจิ้ง (辩证)” โดยแบ่งออกเป็น ชี่ปอดพร่อง หยางปอดพร่อง อินปอดพร่อง และปอดเสียสมดุลการควบคุม
การกระจายของลมปราณ ซึ่งแต่ละกลุ่มอาการจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกัน ดังนั้น หลักการในการรักษาจึงแตกต่างกัน
เช่น ชี่ปอดพร่อง รักษาด้วยวิธีการบำรุงชี่ของปอด หยางปอดพร่อง รักษาด้วยวิธีการอุ่นและบำรุงชี่ของปอด อินปอดพร่อง
รักษาด้วยวิธีการเพิ่มอินและความชุ่มชื้นให้กับปอด ปอดเสียสมดุลการควบคุมการกระจายของลมปราณ หากชี่ปอด
ไหลเวียนไม่สะดวกใช้วิธีการรักษาการกระจายชี่ออกสู่ภายนอก หากชี่สวนทางลอยขึ้นใช้วิธีการรักษาการดึงชี่ลงสู่ด้านล่าง
นอกจากนี้แพทย์แผนจีนยังมีแนวคิดว่า ปอดเป็นอวัยวะที่อ่อนแอ ในฤดูร้อนมักถูกความร้อนจากภายนอก
กระทบทำร้ายได้ง่าย ดังนั้นจึงควรบำรุงชี่ปอดและเสริมอินเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ปอดอยู่เสมอ โดยมักใช้สมุนไพรจีนช่วย
บำรุงปอดมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เพื่อปรับสมดุลร่างกายให้สามารถป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นได้ รวมถึงการ
นำมาเข้าตำรับเพื่อรักษาโรค
ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่น รังนก (燕窝,รังของนกที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Collocalia
esculenta Linnaeus) รสหวาน ฤทธิ์กลาง เข้าเส้นลมปราณปอด กระเพาะ ไต สรรพคุณ หล่อเลี้ยงอินเพิ่มความชุ่มชื้น
ให้ปอด บำรุงชี่ส่วนกลาง ใช้สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรังร่างกายอ่อนเพลีย ไอหอบมีเสมหะ ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด
ปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน 5 -15 กรัม เห็ดหูหนูขาว (银耳, Tremella fuciformis Berk.)
รสหวาน จืด ฤทธิ์กลาง เข้าเส้นลมปราณปอด กระเพาะ ไต สรรพคุณ บำรุงอิน
เพิ่มสารน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้น บำรุงกระเพาะ ใช้สำหรับผู้ที่ฟื้นจากโรคต่าง ๆ
ร่างกายพร่อง ปอดพร่องมีอาการไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือดปน คอแห้ง ปริมาณ
ที่แนะนำให้รับประทาน 3 -10 กรัม
ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่มีในประเทศไทยที่ใช้เข้าตำรับยาจีน เช่น
ใบหม่อน (桑叶, Mori Folium) รสขม หวาน ฤทธิ์เย็น เข้าเส้นลมปราณ ปอด ตับ
สรรพคุณ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ปอด ขับร้อน ใช้สำหรับผู้มีอาการ ร้อนแห้งกระทบปอด
ทำให้มีอาการไอแห้ง ๆ มีเสมหะเล็กน้อย ปริมาณการใช้เข้าตำรับ 5 -10 กรัม
รากของต้นดอกบอลลูน (桔梗, Platycodonis Radix) รสขม เผ็ด ฤทธิ์กลาง เข้าเส้น
ลมปราณปอด สรรพคุณ ทำให้ชี่ของปอดหมุนเวียนได้ดี ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับหนอง
ใช้สำหรับผู้มีอาการไอมีเสมหะมาก เจ็บคอ คอบวม ไม่มีเสียง ฝีที่ปอด ไอมีเสมหะ
หนองปน ปริมาณการใช้เข้าตำรับ 3 -10 กรัม
ต้นดอกบอลลูน