Page 1 - จุลสารกรมแพทย์แผนไทยฯ ปีที่3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
P. 1
กรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563 DTAM E - newsletters
สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก เมื่อพูดถึงความรักหลายคนนึกถึงดอกกุหลาบ
ซึ่งใช้เป็นสื่อแทนความรักที่เป็นสากล ดอกที่มีกลิ่นหอมและหลากสีสันแทนความหมายที่
หลากหลายรูปแบบแห่งรักนั่นเอง นอกจากคุณค่าทางใจแล้ว กุหลาบสามารถนำมาสกัดน้ำมัน
หอมระเหยสำหรับการแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางและใช้เพื่อการบำบัดโรคโดยใช้กลิ่นหอม
(Aromatherapy; สุคนธบำบัด) อีกด้วย โดยน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบผลิตจากกุหลาบมอญ
(Rosa damascene Mill.) วงศ์ Rosaceae มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย คลายความตึงเครียด
ของร่างกาย คลายกล้ามเนื้อเรียบ และคลายกังวล ทำให้รู้สึกสบาย และนอนหลับง่าย
นอกจากนี้ยังช่วยระบาย คลายปวด และช่วยขับระดู สำหรับยาไทยมีการใช้ประโยชน์
จากน้ำมันดอกกุหลาบมาช้านาน โดยนำน้ำมันดอกกุหลาบมาละลายกับน้ำต้มสุก
ทำเป็นน้ำกระสายยาในตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน อ่อนเพลีย แก้กระหาย และบำรุงกำลัง
ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าน้ำมันหอมระเหยกุหลาบมาจากประเทศอิหร่านหรือซีเรีย
เรียกว่า “น้ำดอกไม้เทศ”
นอกจากการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยแล้ว ดอกกุหลาบยังนิยมนำมาทำชากุหลาบ ขนมสอดไส้กุหลาบ
และใช้ทำบุหงารำไป การแพทย์แผนไทยเชื่อว่ากลิ่นหอมจากกุหลาบช่วยบำรุงหัวใจ สอดคล้องกับการแพทย์แผนจีนที่ใช้กุหลาบแห้งช่วย
เพิ่มพลังชี่และบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ส่วนการแพทย์อายุรเวทใช้ชากุหลาบเพื่อช่วยระบายในผู้ที่ขับถ่ายลำบาก
กุหลาบ ดอกไม้ที่ไม่ได้มีเพียงความสวยงาม แต่ยังทรงคุณค่า
ด้วยกลิ่นอันหอมหวน และให้ประโยชน์ทางยาที่หลากหลาย