Page 191 - Policy-Communication-Report-Volume-67
P. 191

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่โรงแรมริชมอนด์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข กล่าวในการเป็นประธานพิธีเปิดการประชุม
               และปาฐกถาพิเศษ “การประชุมสื่อสารนโยบายมุ่งเน้นและการมอบนโยบายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
               ประจ าปีงบประมาณ 2567” ว่า ประเทศไทยมีความโดดเด่นของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรที่สามารถขับเคลื่อน
               การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างลงตัว ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ
               สุขภาพได้ชัดเจน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการด าเนินการของกรมการแพทย์แผนไทยฯ ในการผลักดันเศรษฐกิจสุขภาพ ทั้งนี้จะ
               ส่งเสริมนวดไทย อาหารไทย สมุนไพรไทย เป็น Soft power ของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้
               จากการท่องเที่ยวด้านอาหาร 20% ของรายได้รวมจากการท่องเที่ยวทั้งหมด ทั้งนี้ในเดือน ธ.ค. 2566 ก าลังจะ Kick off

               มหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ จ.เพชรบูรณ์
               ด้าน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ  กล่าวว่า  ภาพรวมแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี

               (พ.ศ.2566-2570) โดยเป้าหมายการขับเคลื่อน (Ultimate Goals) ภายในปี 2570 มี 3 ประเด็นส าคัญ 1.ประชาชนเชื่อมั่นใน
               สมุนไพรดูแลสุขภาพเพิ่มเป็น 10% 2.บริการเป็นเลิศ ประชาชนเลือกใช้บริการการแพทย์แผนไทยฯ เมื่อเจ็บป่วยเพิ่มเป็น 10%
               และ 3.ภูมิปัญญาสร้างคุณค่า โดยมูลค่าการบริโภคสมุนไพรในประเทศเพิ่มเป็น 90,000 ล้านบาท และเป็นท็อป 3 ของเอเชีย
               โดยปี 2566 มูลค่าอยู่ที่ 56,994 ล้านบาท และเป็นล าดับ 4 ของเอเชีย รองจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

               ส าหรับนโยบายกรมการแพทย์แผนไทย ปี  2567 ได้แก่ 1.ยกระดับการแพทย์แผนไทยฯ สู่การหนุนเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
               สุขภาพ โดยเฉพาะนวดไทย ซึ่งต่างประเทศต้องการแรงงานกลุ่มนี้ปีละเป็นหมื่นคน จึงมีเป้าหมายจ านวนผู้ส าเร็จการอบรมนวดไทย
               5,000 คนภายใน 6 เดือน เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ, อาหารไทย, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั่วประเทศ
               มี 93 แห่งใน 28 จังหวัด และ Wellness communities ขับเคลื่อนศูนย์เวลเนสอัตลักษณ์ไทย ปัจจุบันผ่านการรับรองแล้ว 36 แห่ง
               แบบที่พักนักท่องเที่ยว 13 แห่ง ภัตตาคาร 6 แห่ง นวดเพื่อสุขภาพ 4 แห่ง สปาเพื่อสุขภาพ 10 แห่ง และสถานพยาบาล 3 แห่ง
               โดยจะมีการพัฒนาศูนย์ Wellness ที่ตอนนี้มีอยู่ 459 แห่งให้เป็น TWD มากขึ้น

               และ 2. Service plan ผลักดันให้แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมีบทบาทส าคัญ สร้างความเชื่อมั่นการจัดบริการดูแลสุขภาพ
               ในระดับปฐมภูมิมีเป้าหมายประชาชนที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
               ทางเลือกไม่น้อยกว่า 40% ส่วนการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เป้าจ านวนผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์
               อัมพาตระยะกลางที่ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ไม่น้อยกว่า 10%  รวมถึงพัฒนามาตรฐานการ
               ผลิตยาจากสมุนไพรในรพ.ของรัฐให้ได้มาตรฐาน WHO GMP ปัจจุบันผ่านแล้ว 46 แห่งจะมีการพัฒนาให้รพ.ทั้ง 46 แห่งมีการตก

               ลงร่วมกันภายในเขตสุขภาพให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้หลัก Economy of Scale ลดต้นทุนการผลิต ลดรายการยาที่ผลิต
               ในแต่ละรพ. หากราคายาที่ผลิตแล้วแพงกว่าให้จัดหายาผ่านภาคเอกชน และยาก าพร้าให้กรมเป็นหลักในการวางแผนการผลิต







                                                                                                       186
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196